Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/906
Title: ภาพลักษณ์ของเทศบาลตำบลตามการรับรู้ของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลบ้านต๊ำ อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา
Other Titles: Residents Appraisal of the Bantam Subdistrict Municipality Council Services, Muang District, Phayao Province
Authors: ปิงยอง, จันจิรา
Keywords: การบริหาร
การจัดการองค์กร
เทศบาลตำบล
ภาพลักษณ์
Administration
Organization management
District Municipality
Image
Issue Date: 2556
Publisher: มหาวิทยาลัยพะเยา
Citation: http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=530&doc_type=0&TitleIndex=1
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาถึงการรับรู้ภาพลักษณ์ในแต่ละด้านของเทศบาลตำบลบ้านต๊ำ อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา ประกอบด้วย ด้านผู้บริหาร ด้านบุคลากร ด้านการบริหารงบประมาณ ด้านประสิทธิภาพการบริการ ด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน และด้านอาคารสถานที่ ทำการสุ่มตัวอย่างจากประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลตำบลบ้านต๊ำ อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา จำนวน 380 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และทำการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ (Frequency) ค่าเฉลี่ย (Means) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) และสถิติเชิงอนุมาน (Inferential statics) ได้แก่ การทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ย 2 กลุ่มอิสระ (Independent sample t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบจำแนกทางเดียว (One-way ANOVA) ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุอยู่ระหว่าง 51 ถึง 60 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ประกอบอาชีพเกษตรกร และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนอยู่ระหว่าง 9,001 ถึง 12,000 บาท โดยภาพรวมการรับรู้ภาพลักษณ์ในแต่ละด้านของประชาชน อยู่ในระดับมาก เมื่อเรียงคะแนนการรับรู้ภาพลักษณ์ตามค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย พบว่า ด้านประสิทธิภาพการบริการมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ ด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน ด้านอาคารสถานที่ ด้านบุคลากร ด้านการบริหารงบประมาณ และด้านผู้บริหาร ตามลำดับ แต่เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของการรับรู้ภาพลักษณ์ของประชาชนจำแนกตามลักษณะทางประชากรศาสตร์ พบว่า ภาพลักษณ์ในแต่ละด้านไม่แตกต่าง อย่างไรก็ตามระดับการศึกษาประชาชนมีแนวโน้มที่มีผลต่อการรับรู้ภาพลักษณ์ในด้านผู้บริหาร (P-value = 0.071) โดยการศึกษาระดับปริญญาตรีมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด นอกจากนี้ยังพบว่า เพศมีแนวโน้มที่มีผลต่อการรับรู้ของภาพลักษณ์ในด้านบุคลากร (P-value = 0.082) โดยเพศหญิงมีค่าเฉลี่ยในการรับรู้สูงกว่าเพศชาย
URI: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/906
Appears in Collections:ระดับปริญญาโท (Master Degree)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Janjira Pingyong.pdfJanjira Pingyong3.59 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.