กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/529
ชื่อเรื่อง: การมีส่วนร่วมในการจัดการขยะของพนักงานสายวิชาการและสายสนับสนุน สังกัดมหาวิทยาลัยพะเยา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Waste Management Participation of Academic Staff and Support Staff in Phayao Universtity Mueang District Phayao Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ใจดุ, ณัฐดนัย
คำสำคัญ: การมีส่วนร่วม
การจัดการขยะ
พนักงานมหาวิทยาลัย
Participation
Waste management
University staff
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยพะเยา
แหล่งอ้างอิง: http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=1384&doc_type=0&TitleIndex=1
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของพนักงานสายวิชาการ และสายสนับสนุนในการจัดการขยะมูลฝอย และเพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของพนักงานสายวิชาการ และสายสนับสนุนในการจัดการขยะในสังกัดมหาวิทยาลัยพะเยา ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ พนักงานสายวิชาการและสายสนับสนุน สังกัดมหาวิทยาลัยพะเยา จำนวน 1,827 คน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 301 คน โดยใช้แบบสอบถาม 5 ขั้นตอน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ประมวลผลหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติที่ใช้ทดสอบสมมุติฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) ผลการศึกษา พนักงานมหาวิทยาลัยพะเยา การมีส่วนร่วมในการคัดแยกขยะมูลฝอยของพนักงาน ในภาพรวมระดับความคิดเห็น การแปลความของประเด็นการมีส่วนร่วมในการคัดแยกขยะมูลฝอยของพนักงาน อยู่ในระดับทำบางครั้ง เมื่อพิจารณารายด้าน ด้านความร่วมมือแก้ไขปัญหาส่วนใหญ่ พบว่า บอกหรือตักเตือนเจ้าหน้าที่ที่จัดเก็บขยะหกเลอะเทอะ รองลงมา เสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาขยะให้แก่มหาวิทยาลัย หรือชักชวนเพื่อนร่วมงานให้ช่วยกันดูแลเรื่องปัญหาขยะมูลฝอยในหน่วยงาน แจ้งมหาวิทยาลัยหรือหน่วยงานทันทีที่รถขยะไม่มาเก็บตามเวลา และร่วมให้ข้อมูลเรื่องปัญหาขยะเมื่อมหาวิทยาลัยหรือหน่วยงานมีการนัดประชุม ตามลำดับ ด้านการร่วมปฏิบัติ ส่วนใหญ่พบว่า เข้าร่วมกิจกรรมรักษาความสะอาดที่มหาวิทยาลัยและหน่วยงานจัดให้ รองลงมาแยกขยะก่อนทิ้ง แยกขยะเปียกใส่ถุงปิดเรียบร้อย และทิ้งขยะในที่ว่างหรือข้างทาง ตามลำดับ และด้านการร่วมลดปริมาณขยะมูลฝอย ส่วนใหญ่พบว่า นำถุงพลาสติกหูหิ้วที่ยังมีสภาพดีกลับมาใช้ รองลงมาแยกเศษกระดาษ และเศษโลหะขวดแก้ว ขวดพลาสติกเก็บไว้ขาย รองลงมานำขวดน้ำเปล่าที่ใช้หมดแล้วมาล้างทำความสะอาด แล้วนำไปใช้ประโยชน์อย่างอื่น และพกขวดน้ำเปล่าหรือแก้วน้ำส่วนตัวมาใช้ที่ทำงาน ตามลำดับสมมุติฐาน พนักงานสายสนับสนุน มีส่วนร่วมในการคัดแยกขยะแตกต่างกัน ผลการเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมในการกำจัดขยะจำแนกตามระดับ สายวิชาการและสายสนับสนุน โดยใช้สถิติทดสอบค่าสถิติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (P=0.001)
URI: http://10.209.10.67:8080/handle/123456789/529
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:ระดับปริญญาโท (Master Degree)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
13Natdanai Jidu.pdfNatdanai Jidu1.83 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น