กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/426
ชื่อเรื่อง: แนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดนครพนม
ชื่อเรื่องอื่นๆ: An Approach to Promote Cultural Tourism of Nakhon Phanom Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ภูมิวรมุนี, ศิวธิดา
คำสำคัญ: การส่งเสริมการท่องเที่ยว
การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
จังหวัดนครพนม
Promote tourism
Cultural tourism
Nakhon Phanom Province
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยพะเยา
แหล่งอ้างอิง: http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=1241&doc_type=0&TitleIndex=1
บทคัดย่อ: งานวิจัยเรื่อง แนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดนครพนม เป็นการวิจัยแบบผสม คือ การวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามถามนักท่องเที่ยวชาวไทย จำนวน 400 คน โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมของนักท่องเที่ยว การกำหนดยุทธศาสตร์การตลาดการท่องเที่ยว และการสื่อสารการตลาดการท่องเที่ยว ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการขับเคลื่อน และพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาศักยภาพการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดนครพนม ผลการวิจัยเชิงคุณภาพชี้ให้เห็นว่า จังหวัดนครพนม มีความได้เปรียบด้านทำเลที่ตั้งและการเข้าถึงสะดวก รวมถึงมีทรัพยากรการท่องเที่ยวหลากหลาย มีวัฒนธรรมและ 8 ชาติพันธุ์ชนเผ่า 2 เชื้อชาติที่โดดเด่นผู้คนพร้อมต้อนรับนักท่องเที่ยว ภาครัฐก็สามารถบูรณาการร่วมกันได้เป็นอย่างดี แม้ภาคเอกชนและผู้นำชุมชนในบางพื้นที่ยังต้องทำความเข้าใจ เพื่อให้เห็นความสำคัญของการท่องเที่ยวต่อการพัฒนาชุมชน นอกจากนี้ยังต้องพัฒนาต่อไปให้ดีขึ้นในด้านบุคลากรทางการท่องเที่ยวและการบริการ เส้นทางเชื่อมโยงการท่องเที่ยว เส้นทางรอง สิ่งอำนวยความสะดวกทางการท่องเที่ยว อาทิ ป้ายสื่อความหมาย ป้ายบอกทาง พื้นที่บริการฟรีไวไฟ (Wi-fi) รวมถึงการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อการท่องเที่ยวให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ และในด้านของฝากของที่ระลึกก็ยังขาดเอกลักษณ์เฉพาะ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องหาเอกลักษณ์ให้เด่นชัดกว่านี้ ผลการวิจัยเชิงปริมาณ ชี้ให้เห็นว่า นักท่องเที่ยวเคยมาจังหวัดนครพนมแล้ว และอยากมาอีกเพราะประทับใจในทรัพยากรการท่องเที่ยวที่มีความหลากหลาย โดยเฉพาะด้านวัฒนธรรม ศาสนสถานโบราณสถานที่โดดเด่นมาก รวมถึงผู้คนมีความเป็นมิตร กิจกรรมท่องเที่ยวน่าสนใจ ค่าครองชีพก็ถูก แต่ระยะเวลาการพำนักยังสั้นและส่วนใหญ่พักเพียง 1 คืน มีการใช้จ่ายในระดับที่ดี ส่วนความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อด้านการส่งเสริมการตลาดท่องเที่ยว อยู่ในระดับปานกลาง อยากให้มีการส่งเสริมการตลาด และการสื่อสารการตลาดท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่องให้หลากหลายช่องทางมากขึ้น จากผลของการวิจัย ผู้วิจัยได้นำเสนอแผนยุทธศาสตร์การตลาด เพื่อเป็นแนวทางส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดนครพนม ที่มีองค์ประกอบ 7P’s ได้แก่ Product คือ มีวัฒนธรรมโดดเด่นและหลากหลาย Price คือ ราคาไม่แพงและคุ้มค่า Place คือ เข้าถึงง่าย สะดวก และรวดเร็ว Promotion คือ การส่งเสริมการตลาดอย่างต่อเนื่อง People คือ การพัฒนาบุคลากรการท่องเที่ยวและการบริการ และ Physical evidence and presentation คือ การบริหารจัดการพื้นที่ พัฒนาเส้นทางรอง และเส้นทางเชื่อมโยง
URI: http://10.209.10.67:8080/handle/123456789/426
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:ปริญญาเอก(Doctoral Degree)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
37.Sivathida Phumiworramunee.pdfSivathida Phumiworramunee11.83 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น