Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/233
Title: รูปแบบการพัฒนาโรงแรมบูติคแบบบูรณาการอย่างยั่งยืนในกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Integrated Development Model for Boutique Hotel in Bangkok
Authors: ทองคำ, ภูมิพัฒน์
Keywords: การจัดการ
การพัฒนาอย่างยั่งยืน
การบริหารจัดการ
โรงแรมบูติค
Development model of boutique hotel
Hotel management concept
Boutique hotel in Bangkok
Issue Date: 2561
Publisher: มหาวิทยาลัยพะเยา
Citation: http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=1280&doc_type=0&TitleIndex=1
Abstract: งานวิจัย เรื่องรูปแบบการพัฒนาโรงแรมบูติคแบบบูรณาการอย่างยั่งยืนในกรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบการบริหารจัดการของโรงแรมบูติคในกรุงเทพมหานคร 2) สำรวจพฤติกรรมความพึงพอใจต่อส่วนประสมการตลาดบริการและองค์ประกอบคุณภาพการบริการของนักท่องเที่ยวที่ใช้บริการโรงแรมบูติคในกรุงเทพมหานคร 3) กำหนดรูปแบบการพัฒนาโรงแรมบูติคแบบบูรณาการอย่างยั่งยืนในกรุงเทพมหานคร 4) เพื่อประเมินผลรูปแบบการพัฒนาโรงแรมบูติคแบบบูรณาการอย่างยั่งยืนในกรุงเทพมหานคร ผู้วิจัยทําการวิจัยแบบผสม (Mixed method) การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative method) เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เจ้าของธุรกิจโรงแรมบูติคหรือผู้บริหารระดับสูงของโรงแรมบูติค จำนวน 10 คนและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ส่วนการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative method) เก็บแบบสอบถามกับนักท่องเที่ยวจำนวน 385 คนที่ใช้บริการโรงแรมบูติคในกรุงเทพมหานคร และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสถิติ และใช้สถิติเชิงอนุมานใช้การทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่มที่ไม่เป็นอิสระจากกัน (t-test) และการทดสอบความแปรปรวนทางเดียวกัน (f-test or One-Way ANOVA) โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยคุณภาพพบว่า โรงแรมบูติคในกรุงเทพมหานครมีแนวคิดด้านกระบวนการบริหารงาน (POSDCoRB) ประกอบด้วย 1) ด้านการวางแผน (Planning) โรงแรมส่วนใหญ่มีการจัดดำเนินการประชุมเป็นรายวันใน 2 ช่วง คือ ช่วงเช้าหรือช่วงเย็น 2) ด้านการแบ่งโครงสร้างการดำเนินงาน (Organization) มีการแบ่งตามจำนวนห้องพักที่เปิดให้บริการ 3) ด้านการคัดเลือกพนักงาน (Staffing) ใช้การวัดทัศนคติในงานบริการ ความรู้เกี่ยวกับตำแหน่งงานและความสามารถด้านภาษาต่างประเทศ เช่น ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน 4) ด้านการสั่งการ (Directing) และการประสานงาน (Coordinating) มีการสั่งงานโดยตรงระหว่างเจ้าของและพนักงานให้กระชับมากขึ้นผ่านการใช้เทคโนโลยี 5) ด้านการจัดทำรายงาน (Reporting) มีระบบการรายงานการปฏิบัติงานในแต่ละวันในรูปแบบของ logbook 6) ด้านการทำงบประมาณ (Budgeting) มีการควบคุมการทำงบประมาณผ่านการใช้ระบบ PNL ซึ่งเป็นหน้าที่ของฝ่ายบัญชี ผลการวิจัยเชิงปริมาณพบว่า ปัจจัยด้านอายุส่วนบุคคลและด้านรายได้ต่อเดือนที่ต่างกันมีผลต่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวต่อส่วนประสมการตลาดบริการในด้านประเภทของผลิตภัณฑ์บริการและการส่งเสริมการขายมากที่สุด พฤติกรรมนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาใช้บริการโรงแรมบูติคในกรุงเทพมหานครที่แตกต่างกันมีผลต่อองค์ประกอบคุณภาพการบริการในด้านจำนวนวันที่พักค้างคืน ประเภทของที่พักและการกลับมาใช้บริการมากที่สุด ผลจากการประชุมกลุ่ม (Focus group) พบว่า ผู้ประเมินเห็นด้วยกับรูปแบบการพัฒนาดังกล่าวในทุกด้านประกอบด้วย ด้านแนวคิดเกี่ยวกับโรงแรมบูติค ด้านการบริหารจัดการ ด้านการตลาดบริการ ด้านการตลาดสีเขียว และองค์ประกอบคุณภาพบริการ
URI: http://10.209.10.67:8080/handle/123456789/233
Appears in Collections:ปริญญาเอก(Doctoral Degree)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
24.Poompat Thongkam.pdfPoompat Thongkam5.94 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.