Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1989
Title: ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2
Other Titles: Academic Leadership for Administrators of Opportunity Expansion Schools Chiang Rai Province Chiang Rai Primary Educational Service Area Office 2
Authors: มูลมณี, ชุดาภร
Keywords: ภาวะผู้นำทางวิชาการ
ผู้บริหารสถานศึกษา
โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา
Academic Leadership
The School Administrators
Educational Opportunity Expansion School
Issue Date: 2565
Publisher: มหาวิทยาลัยพะเยา
Citation: http://202.28.199.150/dcupload_/mainmetadata.php?option=edit&SelectDocType=0&bib=1928
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 2) เปรียบเทียบภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 จำแนกตามวุฒิการศึกษาและประสบการณ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ครูผู้สอน โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครจซี่และมอร์แกน ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 265 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม เกี่ยวกับภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการบันทึกข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (T-test independent) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนใช้สถิติ F-test (Analysis of Variance: ANOVA) เมื่อพบความแตกต่าง ใช้วิธีทดสอบความแตกต่างรายคู่ตามวิธีของเชฟเฟ่ (Scheffe') ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก 2) ผลการเปรียบเทียบภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 จำแนกตามวุฒิการศึกษา พบว่า โดยภาพรวมและรายด้าน มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 เมื่อจำแนกตามประสบการณ์การทำงาน พบว่า โดยภาพรวมและรายด้านแตกต่างกันระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 เมื่อทดสอบรายคู่ พบว่า ด้านการบริหารจัดการหลักสูตร ผู้บริหารที่มีประสบการณ์น้อยกว่า 5 ปี แตกต่างกับประสบการณ์มากกว่า 10 ปีขึ้นไป อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ด้านการจัดการเรียนรู้ ผู้บริหารที่มีประสบการณ์ 5-10 ปี แตกต่างจากประสบการณ์มากกว่า 10 ปีขึ้นไป
URI: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1989
Appears in Collections:ระดับปริญญาโท (Master Degree)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chudaporn Moonmanee.pdfChudaporn Moonmanee2.92 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.