Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/90
Title: สภาพปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาการลาออกการศึกษาของนิสิต มหาวิทยาลัยพะเยา
Other Titles: The Study of Problem and Solutions of Resignation Study of Students Phayao University
Authors: สุขเกิด, ญดา
Keywords: สภาพปัญหา
แนวทางการแก้ไขปัญหาการลาออกการศึกษา
Problems
Solutions resignation study
Issue Date: 2561
Publisher: มหาวิทยาลัยพะเยา
Citation: http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=1469&doc_type=0&TitleIndex=1
Abstract: การศึกษาวิจัยครั้งนี้ เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการลาออกการศึกษาของนิสิต มหาวิทยาลัยพะเยา และเพื่อศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาการลาออกการศึกษาของนิสิต มหาวิทยาลัยพะเยา ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือนิสิตมหาวิทยาลัยพะเยาที่ยื่นคำร้องลาออกการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา จำนวน 268 คน ขอบเขตเนื้อหาที่ทำการศึกษา ได้แก่ สภาพปัญหาการลาออกการศึกษาของนิสิต เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลผลการศึกษา โดยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ในภาพรวมทั้ง 4 ด้าน นิสิตมีความคิดเห็นต่อสภาพปัญหาการลาออกการศึกษาของนิสิต มหาวิทยาลัยพะเยามีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านอาจารย์/บุคลากรอยู่ในระดับมาก นอกนั้นอยู่ในระดับปานกลางทุกด้านโดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านมหาวิทยาลัยและด้านนิสิต ตามลำดับ ด้านนิสิตโดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าอยู่ในระดับปานกลางทุกข้อเช่นกัน โดยเรียงจากค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ต้องการศึกษาในสถาบันการศึกษาอื่น การปรับตัวเข้าศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย ผลการเรียนไม่ถึงเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด ความพร้อมทางครอบครัวในการส่งเสริมสนับสนุนการศึกษาในสาขาวิชาที่ไม่ตรงกับความสนใจ ความพร้อมด้านการเงิน หลักสูตรสาขาวิชาที่เรียนไม่ตรงกับความถนัด ความพร้อมด้านสุขภาพกายและสุขภาพจิต และความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนร่วมสถาบันการศึกษา ตามลำดับ ด้านมหาวิทยาลัย โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าอยู่ในระดับปานกลางทุกข้อเช่นกัน โดยเรียงจากมากไปหาน้อย ดังนี้ สถานที่ตั้งของมหาวิทยาลัยอยู่ไกลบ้าน มหาวิทยาลัยมีกองทุนกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษาจากรัฐบาลและกองทุนกู้ยืมฉุกเฉิน ด้านสาธารณูปโภค มหาวิทยาลัยไม่มีคุณภาพ ความเชื่อมั่นในคุณภาพทางการศึกษาของมหาวิทยาลัย ความปลอดภัยในการใช้บริการรถรับส่งภายในมหาวิทยาลัย การบริการรถรับส่งภายในมหาวิทยาลัย บรรยากาศและสิ่งแวดล้อมภายในมหาวิทยาลัยที่เอื้อต่อการเรียนและการใช้ชีวิต และสิ่งอำนวยความสะดวกในมหาวิทยาลัย ตามลำดับ ด้านการจัดการเรียนการสอนโดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลางเช่นกัน โดยเรียงจากมากไปหาน้อย ดังนี้ สื่อการเรียนการสอนไม่เพียงพอ ไม่มีคุณภาพ เช่น มีการชำรุดบ่อย แต่ไม่มีการบำรุงรักษา การนำเอกสารในปีที่ผ่านมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน การมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ และหลักสูตรสาขาวิชาที่เรียนสอนไม่ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน ตามลำดับ และด้านอาจารย์/บุคลากรมีสภาพปัญหาการลาออกการศึกษาโดยรวมเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 3 ข้อ เรียงจากมากไปหาน้อย ดังนี้ การให้บริการของบุคลากร รองลงมา คือ ความเอาใจใส่ดูแลของอาจารย์ที่ปรึกษา และการให้คำปรึกษาของคณาจารย์ นอกนั้นอยู่ในระดับปานกลาง เรียงจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ความเอาใจใส่ด้านการเรียนของอาจารย์ผู้สอนต่อนิสิต ชื่อเสียงของอาจารย์ที่สอน ประสบการณ์ในการสอนของอาจารย์ผู้สอน เทคโนโลยีการถ่ายทอดความรู้ให้แก่นิสิต และคุณวุฒิของอาจารย์ผู้สอน ตามลำดับ
URI: http://10.209.10.67:8080/handle/123456789/90
Appears in Collections:ระดับปริญญาโท (Master Degree)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59206978.pdfYhada Sukkerd1.26 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.