Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/69
Title: การบริหารสุขภาพองค์การของโรงเรียนอำเภอแม่ฟ้าหลวง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3
Other Titles: Management Organizational in Schools of Mae Fah Luang District under the Office of Chang Rai Primary Educational Service Area 3
Authors: แก้วพิลา, พรสุรีย์
Keywords: การบริหารโรงเรียน
สุขภาพองค์การ
School management
Organizational health
Issue Date: 2561
Publisher: มหาวิทยาลัยพะเยา
Citation: http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=1443&doc_type=0&TitleIndex=1
Abstract: การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารสุขภาพองค์การของโรงเรียนอำเภอแม่ฟ้าหลวง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 2) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะการบริหารสุขภาพองค์การของโรงเรียนอำเภอแม่ฟ้าหลวง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษา คือ ผู้บริหารโรงเรียน และครู จำนวน 234 คน เครื่องมือที่ใช้แบบสอบถาม IOC มีค่าระหว่าง 0.67–1.00 มีค่าความเชื่อมั่น (Reliability) 0.96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการบริหารสุขภาพองค์การของโรงเรียนอำเภอแม่ฟ้าหลวง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 โดยภาพรวมทุกมิติอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับจากมากไปน้อย ดังนี้ มิติด้านการมุ่งเน้นวิชาการมิติด้านการอยู่ร่วมกันของครู มิติด้านการสื่อสาร มิติด้านการสนับสนุนทรัพยากร มิติด้านความเป็นผู้นำของผู้บริหารโรงเรียน มิติด้านขวัญในการปฏิบัติงาน และมิติด้านอิทธิพลของผู้บริหารโรงเรียน ตามลำดับ 2) ข้อเสนอแนะการบริหารสุขภาพองค์การของโรงเรียนอำเภอแม่ฟ้าหลวง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 พบว่า ผู้บริหารโรงเรียนควรเป็นผู้มีวิสัยทัศน์กว้างไกลก้าวทันโลกยุค 4.0 ยอมรับความคิดเห็นของผู้ใต้บังคับบัญชา และถือมติของที่ประชุมเป็นสิ้นสุด อุปกรณ์บางอย่างยังไม่ทั่วถึงให้เพียงพอต่อความต้องการของครู และบุคลากรทางการศึกษาควรบริหารแบบมีส่วนร่วมและตัดสินใจจากความคิดเห็นองค์การ มีการเสริมแรงให้ขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน พาไปศึกษาดูงานยังต่างประเทศ ควรสร้างแนวทางการทำกิจกรรมที่พัฒนาครูให้มีสุขภาวะที่ดีในองค์การ เพื่อการอยู่ร่วมกันแบบมีความสุขทำงานร่วมกันเป็นทีม ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน พัฒนาครูส่งครูร่วมอบรมพัฒนาตนเอง หรือนำนวัตกรรมใหม่ ๆ มาสร้างสรรค์งานวิชาการ เน้นการพัฒนาที่เอกลักษณ์ โดยเน้นการสร้างสรรค์สื่อเทคนิคกระบวนการที่หลากหลาย พัฒนาการติดต่อสื่อสาร นอกเหนือจากการประชุมประจำเดือน ใช้เทคโนโลยีช่วยในการติดต่อสื่อสารมากยิ่งขึ้น
URI: http://10.209.10.67:8080/handle/123456789/69
Appears in Collections:ระดับปริญญาโท (Master Degree)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59170125.pdfPhronsuree Kaewphila1.59 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.