Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/546
Title: สภาพการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1
Other Titles: The State of Academic Administration of School Administrators under the Office of Pathumthani Primary Education Area 1
Authors: พัฒนาวัฒน์, ศศิวิมล
Keywords: การบริหารงานวิชาการ
Transformational leadership
Academic administration
ผู้นำการเปลี่ยนแปลง
Issue Date: 2562
Publisher: มหาวิทยาลัยพะเยา
Citation: http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=1492&doc_type=0&TitleIndex=1
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการ ปัญหา และข้อเสนอแนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 จำนวน 327 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามออนไลน์เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการบริหารงาน วิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีระดับการดำเนินงานสูงสุด คือ ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาและหลักสูตรท้องถิ่น รองลงมาคือ ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ และด้านที่ต่ำที่สุด คือ การแนะแนวการศึกษา 2) ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับสภาพการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านแล้วพบว่า ด้านที่มีปัญหาและข้อเสนอแนะ ได้แก่ ด้านการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ปัญหาคือ ขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา กระบวนการเก็บงานการจัดทำที่ไม่เป็นระบบ และขาดโครงสร้างสถานศึกษาเพื่อรองรับระบบประกันคุณภาพภายใน ข้อเสนอแนะ ควรมีการพัฒนาอบรมให้ความรู้กับครูเกี่ยวกับระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ควรมีการจัดเก็บหลักฐานเอกสารอย่างเป็นระบบ และควรปรับโครงสร้างและการบริหารให้สอดคล้องต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้มากขึ้น และด้านการแนะแนวการศึกษา ปัญหาคือ ขาดการสร้างเครือข่ายแนะแนวทางการศึกษา ขาดการจัดระบบการแนะแนวทางวิชาการ และวิชาชีพที่เชื่อมโยงกับระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และขาดการประสานงานกับหน่วยงานภายนอก และผู้ปกครองในด้านการแนะแนวการศึกษา ข้อเสนอแนะ ควรมีการสร้างเครือข่ายการศึกษา ควรจัดระบบการแนะแนวทั้งสองด้าน คือ ทางวิชาการและวิชาชีพกับผู้เรียน และควรมีการสร้างความร่วมมือและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ด้านการแนะแนว
URI: http://10.209.10.67:8080/handle/123456789/546
Appears in Collections:ระดับปริญญาโท (Master Degree)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60170194.pdfSasiwimon Phatthanawat1.02 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.