กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/444
ชื่อเรื่อง: แผนยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวแบบบูรณาการอย่างยั่งยืนจังหวัดตรัง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: A Strategic Plan for Potential Development in Integrated Sustainable Tourism of Trang
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ฮกทา, ดุสิตพร
คำสำคัญ: ยุทธศาสตร์
ศักยภาพการท่องเที่ยว
จังหวัดตรัง
Strategy
Tourism potential
Trang Province
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยพะเยา
แหล่งอ้างอิง: http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=1223&doc_type=0&TitleIndex=1
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงประยุกต์มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวจังหวัดตรัง และเพื่อวางแผนยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวแบบบูรณาการอย่างยั่งยืนจังหวัดตรัง โดยการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากการศึกษาเอกสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึก ใช้เครื่องมือเป็นแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง เลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเจาะจง จากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และผู้แทนชุมชน รวมทั้งสิ้น 22 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา การวิเคราะห์ SWOT และ TOWS matrix สำหรับการวิจัยเชิงปริมาณเก็บข้อมูล โดยใช้เครื่องมือเป็นแบบสอบถามปลายปิด เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบโควต้า จากหน่วยงานภาคเอกชน ประชาชน และนักท่องเที่ยว รวมทั้งสิ้น 400 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ด้วยการหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า จังหวัดตรังมีศักยภาพการท่องเที่ยว เนื่องจากมีแหล่งท่องเที่ยวหลากหลาย และมีความโดดเด่นโดยเฉพาะแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ แต่ขาดการส่งเสริม และประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวเชิงศาสนา ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และวิถีชีวิตให้เป็นที่รู้จักอย่างต่อเนื่อง มีโปรแกรมการท่องเที่ยว และกิจกรรมการท่องเที่ยวที่ตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยวได้ทุกกลุ่มวัย สามารถเดินทางมาจังหวัดตรัง และเข้าถึงแหล่งเที่ยวจังหวัดตรังได้ทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ แต่ควรพัฒนาเส้นทางไปยังแหล่งท่องเที่ยวให้เกิดความสะดวกและปลอดภัย เพิ่มระบบขนส่งสาธารณะระหว่างแหล่งท่องเที่ยวใกล้เคียง รวมถึงพัฒนาท่าเรือให้มีมาตรฐาน ด้านการให้บริการของแหล่งท่องเที่ยวควรมีห้องน้ำบริการที่ได้มาตรฐานและเพียงพอ ควรจัดให้มีหน่วยปฐมพยาบาลฉุกเฉิน และศูนย์บริการนักท่องเที่ยวตามแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกมีมาตรฐาน และเพียงพอกับการรองรับนักท่องเที่ยวตลอดจนราคามีความเหมาะสม อย่างไรก็ตามการพัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวจังหวัดตรัง ถูกจำกัดด้วยงบประมาณที่ไม่เพียงพอและต่อเนื่อง ตลอดจนมีข้อจำกัดด้านกฎหมายในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวที่อยู่ในการดูแลของหน่วยงานภาครัฐ ทั้งนี้แผนยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวแบบบูรณาการอย่างยั่งยืนจังหวัดตรัง มีวิสัยทัศน์ คือ ตรังเมืองการท่องเที่ยวเชิงนิเวศแบบบูรณาการอย่างยั่งยืนสู่สากล ประกอบด้วย 5 ประเด็นยุทธศาสตร์ ได้แก่ 1) ยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อรองรับการท่องเที่ยวสู่สากล 2) ยุทธศาสตร์การฟื้นฟู และพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวแบบบูรณาการอย่างยั่งยืน 3) ยุทธศาสตร์การพัฒนาสินค้า และบริการเพื่อเพิ่มมูลค่าด้านการท่องเที่ยว 4) ยุทธศาสตร์การสร้างความเชื่อมั่น และส่งเสริมการท่องเที่ยวสู่สากล และ 5) ยุทธศาสตร์การพัฒนาบุคลากร และเสริมสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายการท่องเที่ยว
URI: http://10.209.10.67:8080/handle/123456789/444
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:ปริญญาเอก(Doctoral Degree)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
19.Dusitporn Hokta.pdfDusitporn Hokta11.94 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น