Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/432
Title: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเข้ารับการตรวจมะเร็งปากมดลูกในสตรีไทยที่มีอายุ 30-60 ปี ตำบลจอมสวรรค์ อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย
Other Titles: Factors Related to the Behavior of Cervical Cancer in Thai Women Aged 30-60 Years in Chom Sawan Subdistrict, Mae Chan District, Chiang Rai Province
Authors: สารทอง, โกสุม
Keywords: ความรู้
ทัศนคติ
พฤติกรรม
ความเชื่อด้านสุขภาพ
มะเร็งปากมดลูก
Knowledge
Attitude
Behavior
Health beliefs
Cervical cancer
มะเร็ง -- การป้องกันและควบคุม
สตรี -- สุขภาพและอนามัย
Issue Date: 2556
Publisher: มหาวิทยาลัยพะเยา
Citation: http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=552&doc_type=0&TitleIndex=1
Abstract: การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเข้ารับการตรวจมะเร็งปากหมดลูกในสตรีไทยที่มีอายุ 30-60 ปี ตำบลจอมสวรรค์ อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย โดยได้ศึกษาทางด้านปัจจัย 4 ส่วน คือ ปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านความรู้ ปัจจัยด้านทัศนคติ ปัจจัยความเชื่อด้านสุขภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษา คือ สตรีไทยที่มีอายุ 30-60 ปี มีภูมิลำเนาในพื้นที่ตำบลจอมสวรรค์ อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย จำนวน 287 คน ใช้วิธีการสุ่มอย่างเป็นระบบ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม โดยแบบสอบถามความรู้ทั่วไปเรื่องโรคมะเร็งปากมดลูก มีค่าความเชื่อมั่น 0.76 แบบสอบถามทัศนคติต่อโรคมะเร็งปากมดลูก มีค่าความเชื่อมั่น 0.78 แบบสอบถามเกี่ยวกับความเชื่อด้านสุขภาพ มีค่าความเชื่อมั่น 0.85 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยล่ะ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ Chi-square จากการศึกษาพบว่า เหตุผลส่วนใหญ่ที่ทําให้ไม่เคยไปรับบริการตรวจมะเร็งปากมดลูก คือ ร้อยละ 82.3 ไม่มีอาการผิดปกติใด ๆ รองลงมา คือ ร้อยละ 46.3 ไม่คิดว่าจะเป็นมะเร็งปากมดลูก เหตุผลส่วนใหญ่ที่ทําให้เคยไปรับบริการตรวจมะเร็งปากมดลูก คือ ร้อยละ 77.7 ช่วงการรณรงค์ให้ไปตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก รองลงมา คือ ร้อยละ 64.3 กลัวเป็นมะเร็งปากมดลูก เมื่อทดสอบความสัมพันธ์ พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลด้าน อายุ (p=0.494) สถานภาพสมรส (p=0.251) การศึกษา (p=0.223) และปัจจัยด้านการรับรู้ประโยชน์ของโรค (p=0.127) ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเข้ารับการตรวจมะเร็งปากมดลูก ปัจจัยส่วนบุคคลด้าน รายได้ (p=0.046) อาชีพ (p=0.007) การคุมกําเนิด (p=0.006) ปัจจัยด้านความรู้ (p=0.001) ปัจจัยด้านทัศนคติ (p=0.028) ปัจจัยด้านการรับรู้โอกาสเสี่ยงของโรค (p=0.005) ปัจจัยด้านการรับรู้ความรุนแรงของโรค (p=0.007) มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเข้ารับการตรวจมะเร็งปากมดลูก ผลการศึกษาครั้งนี้ ควรดําเนินการต่อไป คือ ควรจัดให้บริการตรวจมะเร็งปากมดลูกอย่างต่อเนื่อง และควรจัดให้มีบริการเคลื่อนที่ในการให้บริการตรวจมะเร็งปากมดลูกที่บ้าน การประชาสัมพันธ์ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ โดยมีอาสาสมัครสาธารณสุขเป็นแกนนําหลักในการประชาสัมพันธ์ และควรเน้นการทํางานใกล้ชิดกับกลุ่มสตรีในชุมชนให้มากขึ้น
URI: http://10.209.10.67:8080/handle/123456789/432
Appears in Collections:ระดับปริญญาโท (Master Degree)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kosum Sarnthong.pdfKosum Sarnthong3.3 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.