กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/424
ชื่อเรื่อง: ยุทธศาสตร์เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันของจังหวัดสงขลาด้านอุตสาหกรรมการจัดประชุม สัมมนา การท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัลและการจัดแสดงสินค้าและนิทรรศการ (MICE) ในประเทศไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: A Strategy for Competitive Advantages of Mice Industry in Songkhla Province, Thailand
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ทิพย์เพ็ง, สาลินี
คำสำคัญ: ยุทธศาสตร์
อุตสาหกรรมไมซ์
การสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน
จังหวัดสงขลา
Strategy
MICE industry
Competitive advantages
Songkhla Province
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยพะเยา
แหล่งอ้างอิง: http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=1242&doc_type=0&TitleIndex=1
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) สำรวจศักยภาพอุตสาหกรรมการจัดประชุม สัมมนา การท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล และการจัดแสดงสินค้าและนิทรรศการ (MICE) ในจังหวัดสงขลา 2) วิเคราะห์ศักยภาพอุตสาหกรรมการจัดประชุม สัมมนา การท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล และการจัดแสดงสินค้าและนิทรรศการ (MICE) ของจังหวัดสงขลา และ 3) นำเสนอแนวทางการกำหนดยุทธศาสตร์ เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมการจัดประชุม สัมมนา การท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล และการจัดแสดงสินค้าและนิทรรศการ (MICE) ของจังหวัดสงขลา ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ รวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญจากกลุ่มผู้พัฒนา และกลุ่มผู้ใช้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และใช้การตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า ผลการวิจัยพบว่า 1) จังหวัดสงขลาตั้งอยู่ในเขตพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ โดยโครงสร้างทางเศรษฐกิจของจังหวัดขึ้นกับกิจกรรมการผลิตใน 5 สาขา ได้แก่ อุตสาหกรรม เกษตรกรรม การทำเหมืองแร่ การขายส่ง การขายปลีก และการศึกษา เป็นจังหวัดที่ศักยภาพด้านอุตสาหกรรมไมซ์สูง ในกลุ่มจังหวัดภาคใต้ตอนล่าง แต่มีความเสี่ยงในการยกเลิกงาน และการรักษาความปลอดภัย 2) ศักยภาพอุตสาหกรรมไมซ์ในสงขลา มีโครงสร้างพื้นฐาน และสิ่งอำนวยความสะดวกที่ครบครัน แต่ต้องพัฒนาให้ได้มาตรฐานสากล 3) การกำหนดยุทธศาสตร์ เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมการจัดประชุม สัมมนา การท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล และการจัดแสดงสินค้า และนิทรรศการ (MICE) ของจังหวัดสงขลา ประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ ยุทธศาสตร์การส่งเสริมให้จังหวัดสงขลาเป็นจุดหมายปลายทาง สำหรับการจัดกิจกรรมไมซ์ให้เป็นตัวเลือก 1 ใน 5 ของประเทศไทย ยุทธศาสตร์การพัฒนาสินค้า บริการ และปัจจัยสนับสนุนที่จะรองรับการจัดกิจกรรมไมซ์ในจังหวัดสงขลา ยุทธศาสตร์การสร้างความแตกต่างให้กับตลาดไมซ์ในจังหวัดสงขลา เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน และยุทธศาสตร์การพัฒนากิจกรรมไมซ์ในจังหวัดสงขลาอย่างยั่งยืน
URI: http://10.209.10.67:8080/handle/123456789/424
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:ปริญญาเอก(Doctoral Degree)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
38.Salinee Tippeng.pdfSalinee Tippeng5.87 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น