Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/312
Title: ศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภองาว จังหวัดลำปาง
Other Titles: A Study of Conditions and Problems of Participation Management in Nurseries under the Local Administration of Ngao District, Lampang Province
Authors: ควรคิด, รุ่งทิวา
Keywords: สภาพปัญหา
การบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
Condition and problems
Participatory management
Development center
Issue Date: 2561
Publisher: มหาวิทยาลัยพะเยา
Citation: http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=1473&doc_type=0&TitleIndex=1
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภองาว จังหวัดลำปาง กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ คณะกรรมการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในเขตอำเภองาว จังหวัดลำปาง ประกอบด้วยนายกองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 10 คน รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลที่กำกับดูแลการจัดการศึกษา จำนวน 10 คน นักวิชาการศึกษา จำนวน 9 คน ครูผู้ดูแลเด็ก จำนวน 25 คน ตัวแทนผู้ปกครอง จำนวน 75 คน และตัวแทนจากชุมชน จำนวน 111 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 240 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภองาว จังหวัดลำปาง โดยรวมทั้ง 3 ด้าน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย คือ ด้านการมีส่วนร่วมในการควบคุม ติดตาม และประเมินผล มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดรองลงมา คือ ด้านการมีส่วนร่วมในการวางแผน และด้านการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติตามลำดับ 2) ปัญหาการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภองาว จังหวัดลำปาง พบว่า 2.1) ผู้ปกครองและชุมชนส่วนมากไม่เข้าใจถึงการมีส่วนร่วม ไม่ทราบว่าตนนั้นเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมวางแผนเพื่อพัฒนาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในการจัดทำแผนหรือการประชุมเพื่อวางแผน ผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผนต่าง ๆ น้อย และผู้นำชุมชนเห็นว่าเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กยังมีอายุน้อย จึงไม่เห็นความสำคัญ 2.2) ด้านการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติ ปัญหาที่พบ คือ บริบทของชุมชนเป็นชุมชนเกษตรกรรม ดังนั้น การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติกิจกรรมของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจึงมักไม่ได้รับความร่วมมือจากชุมชนและผู้ปกครองเท่าที่ควร ขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับงาน และพัฒนาการของเด็กก่อนวัยเรียน จำนวนบุคลากร (ครู) มีจำนวนไม่เพียงพอกับจำนวนเด็ก งบประมาณสนับสนุนการพัฒนายังไม่เพียงพอ 2.3) ด้านการมีส่วนร่วมในการควบคุม ติดตาม และประเมินผล ปัญหาที่พบ คือ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีการติดตามและประเมินผลการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทุกปี แต่ทั้งนี้ก็เป็นเพียงการประเมินที่เกิดขึ้นจากผู้ปฏิบัติหรือครูผู้สอน และเจ้าหน้าที่เท่านั้น
URI: http://10.209.10.67:8080/handle/123456789/312
Appears in Collections:ระดับปริญญาโท (Master Degree)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59207014.pdfRungtiwa Kuankid1.18 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.