Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/254
Title: แผนยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวแบบบูรณาการอย่างยั่งยืนในจังหวัดนครราชสีมา
Other Titles: Strategic Plan for Integrated Sustainable Tourism Development in Nakhon Ratchasima Province
Authors: รชตะภูวินทร์, ภูริต
Keywords: แผนยุทธศาสตร์
การพัฒนา
การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนแบบบูรณาการ
จังหวัดนครราชสีมา
Strategic plan
Development
Integrated sustainable tourism
Nakhon Ratchasima Province
Issue Date: 2560
Publisher: มหาวิทยาลัยพะเยา
Citation: http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=1207&doc_type=0&TitleIndex=1
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาศักยภาพของการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของจังหวัดนครราชสีมา 2) เพื่อวางแผนยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวแบบบูรณาการอย่างยั่งยืนในจังหวัดนครราชสีมา 3) เพื่อประเมินผลการนำโครงการนำร่องในแผนยุทธศาสตร์ไปดำเนินการในชุมชนที่เป็น กรณีศึกษา ผู้วิจัยใช้การวิจัยแบบผสมผสาน ประกอบด้วยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบรายการศึกษาชุมชน แบบตรวจสอบทรัพยากรการท่องเที่ยว แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และการประชุมกลุ่มย่อย มีประชากรกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน จากภาครัฐ ภาคเอกชน ประชาชน และนักท่องเที่ยว และการวิจัยเชิงปริมาณโดยเครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง ภาครัฐ ภาคเอกชน ประชาชน และนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาเที่ยวจังหวัดนครราชสีมา จำนวนรวม 400 คน ผลการวิจัยพบว่า ทรัพยากรท่องเที่ยวที่มีความโดดเด่นของจังหวัดนครราชสีมา อันดับแรกคือ ทรัพยากรการท่องเที่ยวทางธรรมชาติ รองลงมาคือ ทรัพยากรท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ทรัพยากรมหกรรมเทศกาลและงานประเพณี ทรัพยากรกิจกรรมและทรัพยากรบริการ โดยศักยภาพของการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของจังหวัดนครราชสีมาที่มีความสำคัญมากที่สุด คือ การมีสภาพภูมิอากาศ และที่ตั้งเหมาะสมต่อการท่องเที่ยว แผนยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวแบบบูรณาการอย่างยั่งยืน ในจังหวัดนครราชสีมา โดยมีวิสัยทัศน์ คือ จังหวัดนครราชสีมาจะพัฒนาการท่องเที่ยว เพื่อเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวมรดกโลกทางธรรมชาติ ด้านป่าดิบชื้นที่ดีที่สุดของโลก โดยการสร้างแบรนด์การท่องเที่ยวทางธรรมชาติ เพื่อสัมผัสโอโซนและอากาศบริสุทธิ์ ตลอดจนพัฒนาการท่องเที่ยวเพื่อเป็นประตูสู่เส้นทางอารยะธรรมปราสาทขอมของอาเซียน เพื่อปลูกจิตสำนึกด้านการอนุรักษ์วัฒนธรรมและพัฒนาจิตใจ อีกทั้งพัฒนาเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ศูนย์กลางการผลิต และการแสดงสินค้าแห่งอาเซียน เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและกระจายรายได้ และพัฒนาการท่องเที่ยวด้านศาสนา เพื่อเป็นศูนย์ปฏิบัติธรรมของโลกโดยยกระดับจิตใจ และพัฒนาสังคมในภาพรวมอย่างยั่งยืน ประเมินผลการนำโครงการนาร่องในชุมชนบ้านปราสาท อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา โดยมีวิสัยทัศน์ว่า ชุมชนบ้านปราสาทจะพัฒนาเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวยุคก่อนประวัติศาสตร์ยุคประวัติศาสตร์สมัยอารยธรรมขอมแห่งอาเซียน ตลอดจนวิถีชีวิตชาวอิสานใต้ บนพื้นฐานการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนโดยมียุทธศาสตร์ 4 ข้อ เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ คือ ยุทธศาสตร์การพัฒนาการท่องเที่ยวเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ยุทธศาสตร์การพัฒนาการท่องเที่ยวเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ ยุทธศาสตร์การพัฒนาการท่องเที่ยวเพื่อพัฒนาสังคม ยุทธศาสตร์การพัฒนาการท่องเที่ยวเพื่ออนุรักษ์วัฒนธรรมและปลูกจิตสำนึก
URI: http://10.209.10.67:8080/handle/123456789/254
Appears in Collections:ปริญญาเอก(Doctoral Degree)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
3.Bhurit Rachataphuwin.pdfBhurit Rachataphuwin6.28 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.