Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/2241
Title: การมีส่วนร่วมในการบริหารโรงเรียนของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา อำเภอขุนตาล จังหวัดเชียงราย
Other Titles: Basic Educational Committee’s Participatory School Administration in Extension Education Schools, Khun Tan District, Chiang Rai Province
Authors: ธรรมรักษา, สาริกา
Keywords: คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
การบริหารโรงเรียน
การมีส่วนร่วม
โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา
จังหวัดเชียงราย
The Basic Educational Committee’s
School administration
Participation
Schools expand educational opportunities
Chiang Rai Province
Issue Date: 2558
Publisher: มหาวิทยาลัยพะเยา
Citation: http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=797&doc_type=0&TitleIndex=1
Abstract: การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพการมีส่วนร่วม ปัญหาอุปสรรคและแนวทางแก้ไขของการมีส่วนร่วมในการบริหารโรงเรียน ของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา อำเภอขุนตาล จังหวัดเชียงราย ปีการศึกษา 2557 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 4 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาจำนวน 45 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม ตามโครงสร้างการบริหารงานวิชาการ การบริหารงานบุคคล การบริหารงานงบประมาณ และการบริหารงานบริหารทั่วไป โดยผู้ศึกษาได้ดำเนินการเก็บข้อมูลด้วยตนเอง ได้รับแบบสอบถามกลับคืนมาทั้งหมด 45 ฉบับ นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์โดยใช้สถิติการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหาตามลำดับ ผลการศึกษาพบว่า สภาพการมีส่วนร่วมในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เรียงลำดับจากมากไปน้อยได้ดังนี้ คือ ด้านการบริหารงานทั่วไป ด้านการบริหารงานบุคคล ด้านการบริหารวิชาการ และด้านการบริหารงานงบประมาณ ส่วนปัญหาอุปสรรคและแนวทางแก้ไขการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ด้านบริหารงานวิชาการ พบว่า คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ไม่ค่อยมีความรู้เกี่ยวกับการทำงานด้านวิชาการ แนวทางแก้ไข คือ ควรให้คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เข้ามามีบทบาทในการพัฒนาการศึกษา และเปิดโอกาสให้เข้ามามีส่วนร่วมในการประเมินผลการจัดการศึกษาตามความเหมาะสมด้านบริหารงานบุคคล พบว่า ทางโรงเรียนยังไม่เปิดโอกาสให้คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เข้ามามีส่วนช่วยพัฒนาบุคลากรในโรงเรียนเท่าที่ควร แนวทางแก้ไข คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและคณะครูในโรงเรียน ควรให้เกียรติแก่คนในชุมชนอย่างแท้จริง และควรจัดทำทะเบียนประวัติข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียน เพื่อรายงานให้คณะกรรมการสถานสถานศึกษาทราบ ด้านบริหารงานงบประมาณ พบว่า คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานยังไม่ทราบหน้าที่ที่ชัดเจน แนวทางแก้ไข คือ โรงเรียนควรมีการประชุม เพื่อทำความเข้าใจกับคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้รู้ถึงบทบาทหน้าที่ที่จะเข้ามามีส่วนร่วม ในเรื่องของการบริหารงานงบประมาณของโรงเรียน ด้านบริหารงานทั่วไป พบว่า คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานยังไม่ค่อยมีส่วนร่วมที่จะรับรู้ เกี่ยวกับการทำงานของครูในโรงเรียน แนวทางแก้ไข คือ ควรให้คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้มีโอกาสตรวจสอบการปฏิบัติงานของคณะครูในโรงเรียน เพื่อจะได้รับรู้ปัญหา แล้วนำมาช่วยกันหาแนวทางที่จะพัฒนาการทำงาน
URI: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/2241
Appears in Collections:ระดับปริญญาโท (Master Degree)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sarika Thammaraksa.pdfSarika Thammaraksa2.88 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.