Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/2223
Title: แนวทางในการพัฒนาธุรกิจชุมชนกลุ่มผู้แปรรูปผ้าใยกัญชง กรณีศึกษา : บ้านคอดยาว ตำบลทุ่งกล้วย กิ่งอำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา
Authors: อุดมนพวิทยา, ชไมพร
ใจจันทร์, ภัคจิรา
กุสาวดี, อุดร
Keywords: ผ้าใยกัญชง
ธุรกิจชุมชน
การพัฒนา
การแปรรูปผ้าใยกัญชง
จังหวัดพะเยา
Issue Date: 2549
Publisher: มหาวิทยาลัยพะเยา
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาธุรกิจชุมชน สำหรับกลุ่มแปรรูปผ้าใยกัญชง บ้านคอดยาว ตำบลทุ่งกล้วย กิ่งอำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา ในด้านการบริหารจัดการกลุ่ม ด้านการตลาด การให้การส่งเสริมและสนับสนุน การผลิต การเงิน การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีการสัมภาษณ์ ร่วมกับการบันทึกเสียง บันทึกภาพประกอบ และศึกษาจากเอกสาร กลุ่มผู้ให้ข้อมูล จำนวน 29 คน คือ สมาชิกกลุ่มผู้แปรรูปผ้าใยกัญชง บ้านคอดยาว จำนวน 15 คน และผู้นำชุมชนในท้องถิ่น จำนวน 5 คน นักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้อง 5 คน และผู้บริโภค คือ ผู้ซื้อผลิตภัณฑ์แปรรูปผ้าใยกัญชง จำนวน 4 คน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ จุดมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาการดำเนินงานของกลุ่มผู้แปรรูปผ้าใยกัญชง บ้านคอดยาว 2) เพื่อศึกษาถึงปัญหา และอุปสรรคของการทำธุรกิจแปรรูปผ้าใยกัญชง บ้านคอดยาว วิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้า กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ กลุ่มผู้ผลิตและแปรรูปผ้าใยกัญชง ของบ้านคอดยาว ตำบลทุ่งกล้วย กิ่งอำเภอฎซาง จังหวัดพะเยา เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง โดยผู้ศึกษาจะทำการสัมภาษณ์ภาคสนามด้วยตนเอง ผลการศึกษาค้นคว้า สรุปผลการวิจัยได้ดังนี้ การบริหารจัดการของกลุ่ม พบว่า การบริหารจัดการของกลุ่มผู้แปรรูปผ้าใยกัญชง การจัดโครงสร้างและระบบการบริหารจัดการอย่างหลวม ๆ โดยให้ความสำคัญกับผู้นำกลุ่มเพื่อจะสร้างการมีส่วนร่วมของสมาชิกในด้านการดำเนินการด้านต่าง ๆ และการจัดสรรผลประโยชน์ให้กับสมาชิกกลุ่ม และการแบ่งหน้าที่ของสมาชิกจะแบ่งตามความถนัดของขั้นตอนการแปรรูป ปัจจุบันกลุ่มผู้แปรรูปผ้าใยกัญชง ประสบปัญหาความขัดแย้งภายในด้านการผลิต พบว่า กลุ่มผู้แปรรูปผ้าใยกัญชงจะเริ่มตั้งแต่การนำเข้าวัตถุดิบจากประเทศลาว ผ่านทางตลาดนัดบ้านฮวกมาเข้าสู่กระบวนการผลิตเป็นสินค้าสองชนิด คือ ผ้าใยกัญชงย้อมสี และผ้าบาติกโดยมีสัดส่วนอยู่ที่ร้อยละ 60 และร้อยละ 40 ตามลำดับ แต่ในเรื่องของการพัฒนารูปแบบ สีสัน ขนาด ส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ยังไม่มีการพัฒนาที่ต่อเนื่อง และการผลิตก็ไม่มีการคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในเรื่องการบำบัดน้ำเสีย ด้านการตลาด พบว่า ทางกลุ่มมีสินค้าจำนวน 2 ชนิด คือ ผ้าใยกัญชงย้อมสี และผ้าบาติกมีช่องทางการจำหน่ายสินค้า โดยใช้วิธีการขายตรงไปยังผู้บริโภคซึ่งลูกค้าส่วนใหญ่อยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่ ทางกลุ่มจะนำสินค้าไปส่งด้วยตนเอง ในขณะที่ยังคงมีการออกร้านแสดงสินค้าตามงานต่าง ๆ ที่หน่วยงานราชการจัดขึ้น และยังมีการให้สมาชิกผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนไปตั้งแผงจำหน่ายที่ตรอกเล่าโจ้ว จังหวัดเชียงใหม่ ด้วยการสั่งซื้อสินค้าแต่ละครั้งจะติดต่อทางโทรศัพท์ผ่านประธานกลุ่ม การกำหนดราคาเนื่องจากต้องนำเข้าวัตถุดิบจากประเทศลาว จึงทำให้มีการตั้งราคาสูงกว่าผลิตภัณฑ์ที่เป็นผ้าพื้นเมืองโดยทั่วไป ในขณะที่ทางกลุ่มยังไม่มีการคำนวณต้นทุนที่แท้จริงจึงส่งผลให้การตั้งราคาของกลุ่มไม่เป็นไปตามที่ควรจะเป็นด้านการเงิน พบว่า เงินทุนส่วนใหญ่มากจากการระดมทุนจากสมาชิกภายในกลุ่ม มีเหรัญญิกเป็นผู้จัดทำบัญชี การเบิกจ่ายเงิน ผู้มีอำนาจในการเบิกจ่ายเงิน คือ ประธานกลุ่ม เลขานุการกลุ่ม และกรรมการกลุ่ม ใช้ระบบ 2 ใน 3 เบิกจ่ายเงิน ส่วนระบบการบันทึกบัญชีของกลุ่ม มีการบันทึกบัญชีอย่างง่าย ๆ ไม่เป็นระบบทางด้านการได้รับการส่งเสริม สนับสนุน พบว่า กลุ่มได้รับการช่วยเหลือ ส่งเสริมสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ โดยเฉพาะในส่วนของผู้นำชุมชน โดยการให้คำแนะนำปรึกษาแก่กลุ่ม ประสาน ติดต่อ แจ้งข้อมูลข่าวสาร ระหว่างเจ้าหน้าที่ในภาครัฐกับสมาชิกกลุ่ม สำหรับหน่วยงาน และเจ้าหน้าที่ในภาครัฐ ได้แก่ พาณิชย์จังหวัด อุตสาหกรรมจังหวัด พัฒนาการกิ่งอำเภอ พัฒนาการจังหวัด และศูนย์พัฒนาและลงเคราะห์ชาวเขาจังหวัดพะเยา ได้ให้การส่งเสริม สนับสนุน แจ้งข้อมูลข่าวสาร การจัดตั้งกลุ่ม ติดต่อวิทยากรให้การฝึกอบรม ส่งเสริม ประชาสัมพันธ์ด้านการตลาด รวมทั้งมีนโยบายที่จะช่วยเหลือ ส่งเสริม สนับสนุนกลุ่มอย่างต่อเนื่อง สำหรับแนวทางในการพัฒนาธุรกิจแปรรูปผ้าใยกัญชง บ้านคอดยาว ทางกลุ่มควรจะประสานขอความช่วยเหลือหน่วยงานทางราชการ ให้มาช่วยฝึกอบรมให้ความรู้แก่สมาชิกในด้านการตลาด การผลิต การเงินให้มีประสิทธิภาพ
URI: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/2223
Appears in Collections:ระดับปริญญาโท (Master Degree)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chamaiporn Udomonphawitthaya.pdfChamaiporn26.41 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.