กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/2057
ชื่อเรื่อง: สภาพและปัญหาการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดพะเยา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The State and Problems Early Intervention Service in Phayao Special Education Center
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ยศกลาง, ชฎาพร
คำสำคัญ: การศึกษาพิเศษ
การให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่ม
การบริหารจัดการ
Special Education
Early Intervention Service
Management
วันที่เผยแพร่: 2565
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยพะเยา
แหล่งอ้างอิง: http://202.28.199.150/dcupload_/mainmetadata.php?option=edit&SelectDocType=0&bib=2006
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดพะเยา 2) ศึกษาข้อเสนอแนะการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดพะเยา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหาร ข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดพะเยา จำนวน 67 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่ม ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดพะเยา โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2 ปัญหาการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่ม ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดพะเยา โดยรวมอยู่ในระดับน้อยที่สุด 3) ข้อเสนอแนะ พบว่า ขั้นตอนที่ 1 การเก็บรวบรวมข้อมูลควรมีการพัฒนาระบบการจัดเก็บเอกสารเป็นหมวดหมู่ และบันทึกลงในคอมพิวเตอร์เพื่อการค้นหาที่สะดวกและรวดเร็ว ขั้นตอนที่ 2 การคัดกรองประเภทความพิการทางการศึกษา ควรมีการจัดอบรมหลักสูตรผู้ดำเนินการคัดกรองผู้พิการทางการศึกษาควรมีทุกปีการศึกษา ขั้นตอนที่ 3 การประเมินความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนพิการ ขั้นตอนที่ 4 การจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล ผู้ปกครองควรมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล ขั้นตอนที่ 5 การจัดการให้บริการที่เหมาะสม ควรมีการจัดสรรงบประมาณและบุคลากรเพิ่ม เพื่อที่ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดพะเยาจะได้ให้บริการได้อย่างครอบคลุมและทั่วถึง ขั้นตอนที่ 6 การประเมินความก้าวหน้า ควรมีการประเมินพัฒนาการผู้เรียน และนำผลการพัฒนามาปรับปรุงการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เพราะครูจะได้มีแนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ขั้นตอนที่ 7 การนิเทศ ประเมินผล และการส่งต่อ ควรมีการประสานการทำงานร่วมกับเครือข่ายชุมชนอย่างต่อเนื่อง โดยการประสานกับชุมชน ผู้นำชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อจะได้ดำเนินงานในลักษณะเครือข่าย เพื่อให้บุคคลทั่วไปได้ตระหนักถึงความสำคัญในการช่วยเหลือเด็กพิการให้ได้รับการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ
URI: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/2057
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:ระดับปริญญาโท (Master Degree)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Chadaporn Yodklang.pdfChadaporn Yodklang2.71 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น