กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/2037
ชื่อเรื่อง: การร่วมกันผลิตในการบริหารจัดการขยะ กรณีศึกษา บ้านทุ่งศรี หมู่ที่ 3 ตำบลทุ่งศรี อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Coproduction In Waste Management: Case Study Of Baanthungsri M. 3 Thungsri Sub-District, Rongkwang District, Phrae
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เรืองพูล, อภิวัฒน์
คำสำคัญ: การร่วมกันผลิต
การจัดการขยะ
ขยะ
การบริหารจัดการ
จังหวัดแพร่
Co-production
Waste management
Waste
Management
Phrae province
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยพะเยา
แหล่งอ้างอิง: http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=991&doc_type=0&TitleIndex=1
บทคัดย่อ: การร่วมกันผลิตในการบริหารจัดการขยะ (Coproduction) ในชุมชนบ้านทุ่งศรี หมู่ที่ 3 ตำบลทุ่งศรี อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการร่วมกันผลิตในการบริหารจัดการขยะของชุมชนบ้านทุ่งศรี หมู่ที่ 3 ตำบลทุ่งศรี อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ และเพื่อนำผลการวิจัยที่ได้เป็นข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย และเชิงวิชาการ โดยเป็นการศึกษาภายใต้หลักการ การร่วมกันผลิตบริการสาธารณะ เพื่อการจัดการขยะอย่างครบวงจร และวิธีการวิจัยเป็นไปตามระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งมีโครงสร้างกับกลุ่มตัวอย่างในชุมชนบ้านทุ่งศรี ทั้งการเลือกสัมภาษณ์ผู้บริหารชุมชนตามผังโครงสร้างทางการบริหารชุมชนของหมู่บ้าน จำนวน 8 คน และใช้วิธีการแนะนำบอกต่อจากหัวหน้าคุ้ม จำนวน 12 คน รวมผู้ให้สัมภาษณ์ทั้งหมด จำนวน 20 คนและการวิเคราะห์ข้อมูลใช้เทคนิควิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า ชุมชนบ้านทุ่งศรี ให้ความสำคัญกับการร่วมมือกันในการดำเนินงานในทุกขั้นตอน ภายใต้การลงมติในที่ประชุมประชาคมหมู่บ้าน เพื่อให้ได้ข้อสรุป แนวทางปฏิบัติที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งเริ่มตั้งแต่การร่วมกันวางแผนไปถึงการประเมินผล และการร่วมกันวางแผนเพื่อพัฒนาองค์กรตนในอนาคต ทุกคนจะมีส่วนร่วม และได้ร่วมกันตามกระบวนการ ซึ่งตั้งแต่กระบวนการคิดวางแผนงาน นำไปสู่การปฏิบัติ และประเมินผลการดำเนินงาน เพื่อการพัฒนาการร่วมกันปฏิบัติให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น สำหรับข้อเสนอแนะที่ได้จากการวิจัยมี 2 ประการ ได้แก่ 1) จากการวิจัยพบว่า ผู้ใหญ่บ้านมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเปลี่ยนแปลง และพัฒนาชุมชน คนในชุมชน และปราชญ์ประจำชุมชนล้วนแล้วแต่อยู่ในวัยสูงอายุ ดังนั้นควรที่จะดึงคนรุ่นใหม่พลังแห่งการเปลี่ยนแปลงยุคใหม่ เข้ามามีส่วนร่วมในการร่วมกันผลิตบริการสาธารณะในทุก ๆ ด้านของชุมชน โดยเฉพาะการจัดการขยะแบบเบ็ดเสร็จในครัวเรือนต่อไป 2) ควรมีการศึกษา และวิจัยเพิ่มเติมในเชิงแนวคิด การร่วมกันผลิต (Coproduction)
URI: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/2037
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:ระดับปริญญาโท (Master Degree)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Abhiwat Ruengphoon.pdfAbhiwat Ruengphoon3.93 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น