กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1992
ชื่อเรื่อง: ผลการใช้รูปแบบการสอนโดยใช้วิจัยเป็นฐาน (RBL) เพื่อยกระดับจิตนิสัยทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านเจน (เจนจันทรานุกูล)
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The Results of Using Research - Based Learning (RBL) Model to Develop Mathematical Habits of Mind of Grade 4 Students at Banjen Jenjantranukul School
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วงศ์ไชย, จุไรรัตน์
คำสำคัญ: จิตนิสัยทางคณิตศาสตร์
รูปแบบการสอนโดยใช้การวิจัยเป็นฐาน
คณิตศาสตร์
Mathematical habits of mind
Research-based learning model
Mathematic
วันที่เผยแพร่: 2565
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยพะเยา
แหล่งอ้างอิง: http://202.28.199.150/dcupload_/mainmetadata.php?option=edit&SelectDocType=0&bib=1921
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ที่ใช้รูปแบบการสอนโดยใช้วิจัยเป็นฐาน (RBL) เพื่อยกระดับจิตนิสัยทางคณิตศาสตร์ 2) เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้ที่ใช้รูปแบบการสอนโดยใช้วิจัยเป็นฐาน (RBL) เพื่อยกระดับจิตนิสัยทางคณิตศาสตร์ และ 3) เพื่อศึกษาผลของจิตนิสัยทางคณิตศาสตร์จากการใช้รูปแบบการสอนโดยใช้วิจัยเป็นฐาน (RBL) กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนบ้านเจน (เจนจันทรานุกูล) อำเภอภูกามยาว จังหวัดพะเยา จำนวน 10 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (purposive samping) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ที่ใช้รูปแบบการสอนโดยใช้วิจัยเป็นฐาน เรื่อง การบวกและการลบจำนวนนับ แบบทดสอบวัดจิตนิสัยทางคณิตศาสตร์ แบบสังกตพฤติกรรม และแบบประเมินตนเอง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิตินอนพาราเมตริก (Nonparanetric Statisics ใช้วิธีทดสอบแบบ Wilcoxon signed rank test ผลการวิจัย พบว่า 1) แผนการจัดการเรียนรู้ที่ใช้รูปแบบการสอนโดยใช้วิจัยเป็นฐาน เรื่อง การบวกและการลบจำนวนนับ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 78.57/79.50 2) แผนการจัดการเรียนรู้ที่ใช้รูปแบบการสอนโดยใช้วิจัยเป็นฐานมีค่าดัชนีประสิทธิผล เท่ากับ 0.5729 หรือคิดเป็นร้อยละ 57.29 3) นักเรียนมีจิตนิสัยทางคณิตศาสตร์ก่อนและหลังการใช้รูปแบบการสอนโดยใช้วิจัยเป็นฐาน แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการประเมินจิตนิสัยทางคณิตศาสตร์ของนักเรียน มีค่าเฉลี่ย 3.83 อยู่ในระดับมาก และผลการประเมินตนเองของนักเรียนที่ค่าเฉลี่ย 3.89 อยู่ในระดับมาก
URI: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1992
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:ระดับปริญญาโท (Master Degree)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Jurairat Wongchai.pdfJurairat Wongchai2.64 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น