กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1902
ชื่อเรื่อง: คำบริภาษภาษาไทยถิ่นเหนือในเฟซบุ๊กแฟนเพจ ฮาคนเมือง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The Invectives of Northern Thai Dialect on Ha Khon Mueang Facebook Fanpage
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุวรรณโภค, นลินี
คำสำคัญ: คำบริภาษ
ภาษาไทยถิ่นเหนือ
เฟซบุ๊ก
แฟนเพจ ฮาคนเมือง
กลวิธีการสร้างคำ
โลกทัศน์
Invectives
Northern Thai dialect
Facebook
Ha Khon Mueang fanpage
Word formation strategy
Worldview
วันที่เผยแพร่: 2565
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยพะเยา
แหล่งอ้างอิง: http://202.28.199.150/dcupload_/mainmetadata.php?option=edit&SelectDocType=0&bib=1814
บทคัดย่อ: วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์กลวิธีการสร้างคำบริภาษภาษาไทยถิ่นเหนือ และโลกทัศน์ที่สะท้อนจากคำบริภาษภาษาไทยถิ่นเหนือในเฟซบุ๊กแฟนเพจ "ฮาคนเมือง" งานวิจัยเก็บข้อมูลคำบริภาษภาษาไทยถิ่นเหนือ จากส่วนแสดงความคิดเห็นในเฟซบุ๊กแฟนเพจ "ฮาคนเมือง" ตั้งแต่เดือนมีนาคม พ.ศ. 2555 ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2563 พบคำบริภาษ จำนวน 303 คำ ผลการวิจัยมีดังนี้ การวิเคราะห์กลวิธีการสร้างคำบริภาษภาษาไทยถิ่นเหนือในเฟซบุ๊กแฟนเพจ "ฮาคนเมือง"วิเคราะห์จากความสัมพันธ์ทางความหมายของคำที่นำมาประกอบเป็นคำบริภาษ แบ่งเป็น 6 กลวิธีหลัก ได้แก่ คำบริภาษที่มี 1 องค์ประกอบ คำบริภาษที่มี 2 องค์ประกอบ คำบริภาษที่มี 3 องค์ประกอบ คำบริภาษที่มี 4 องค์ประกอบ คำบริภาษที่มี 5 องค์ประกอบ และ คำบริภาษที่มี 6 องค์ประกอบ เมื่อพิจารณากลวิธีการสร้างคำบริภายดังกล่าว พบว่า คำบริภาษที่มี 2 องค์ประกอบเป็นกลวิธีการสร้างคำบริภาษที่พบมากที่สุด ส่วนคำบริภายที่มี 6 องค์ประกอบเป็นกลวิธีการสร้างคำบริภาษที่พบน้อยที่สุด การวิเคราะห์โลกทัศน์ที่สะท้อนจากคำบริภาษภาษาไทยถิ่นเหนือในเฟซบุ๊กแฟนเพจ "ฮาคนเมือง" มีผลการวิจัยสอดคล้องกับแนวคิดสมมติฐานซาเพียร์-วอร์ฟ เนื่องจากคำบริภาษภาษาไทยถิ่นเหนือสะท้อนให้เห็นความคิด การมองโลกหรือโลกทัศน์ของคนภาคเหนือที่มีความสัมพันธ์กับสิ่งที่อยู่รอบตัว แบ่งเป็น 2 ด้าน ได้แก่ โลกทัศน์ด้านความเชื่อ ประกอบด้วยความเชื่อเกี่ยวกับผี ศาสนา ข้อห้าม และโลกทัศน์ด้านความเป็นอยู่ประกอบด้วยความเป็นอยู่เกี่ยวกับชาติกำเนิด อาชีพ พืช สัตว์ อาหาร สิ่งของเครื่องใช้ โรคภัยไข้เจ็บ เมื่อพิจารณาโลกทัศน์ข้างต้น พบโลกทัศน์ด้านความเป็นอยู่มากที่สุด รองลงมา เป็นโลกทัศน์ด้านความเชื่อ การวิเคราะห์คำบริภาษภาษาไทยถิ่นเหนือในเฟซบุ๊กแฟนเพจ "ฮาคนเมือง" นอกจากเป็นการพิสูจน์แนวคิดดังกล่าว ผลการวิจัยยังสามารถใช้เป็นแนวทางในการศึกษาคำบริภาษภาษาไทยถิ่นในสื่อสังคมออนไลน์อื่น ๆ ได้อีกด้วย
URI: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1902
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:ระดับปริญญาโท (Master Degree)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Nalinee Suwannapok.pdfNalinee Suwannapok3.68 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น