Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/186
Title: การศึกษาความเหมาะสมในการใช้หินในกล่องลวดตาข่ายสร้างฝายต้นน้ำลำธาร: กรณีศึกษา ตำบลท่าตอน อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่
Other Titles: Feasibility Study of using Rock Gabian for Check Dam Construction: Case Study Tambol Thaton Mae Ai District Chiangmai Province
Authors: ศรีสวัสดิ์, สมศักดิ์
Keywords: ความเหมาะสมและต้นทุนในการก่อสร้างฝายต้นน้ำลำธาร
Feasibility and capital of dam construction
Issue Date: 2558
Publisher: มหาวิทยาลัยพะเยา
Citation: http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=1394&doc_type=0&TitleIndex=1
Abstract: การศึกษาความเหมาะสมในการใช้หินในกล่องลวดตาข่ายสร้างฝายต้นน้ำลำธาร กรณีศึกษา ลำน้ำห้วยมะเฟือง ตำบลท่าตอน อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) การศึกษาความเหมาะสมในการสร้างฝายต้นน้ำลำธารในรูปแบบผสมผสาน 2) วิเคราะห์ความเหมาะสมทางเศรษฐศาสตร์ของฝายต้นน้ำลำธารแบบชั่วคราวที่ใช้กระสอบทราย ฝายต้นน้ำลำธารแบบใช้หินในกล่องลวดตาข่าย และฝายต้นน้ำลำธารแบบคอนกรีตเสริมเหล็ก ปรากฏว่า ฝายต้นน้ำลำธารแบบชั่วคราวที่ใช้กระสอบทราย มีค่าใช้จ่าย 5,440 บาท ฝายต้นน้ำลำธารแบบใช้หินในกล่องลวดตาข่ายมีค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง 6,600 บาท ฝายต้นน้ำลำธารแบบคอนกรีตเสริมเหล็กมีค่าใช้จ่าย 37,620 บาท เมื่อนำมาวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ เพื่อหาอัตราส่วนผลตอบแทนต่อต้นทุน พบว่า ฝายต้นน้ำลำธารแบบชั่วคราวที่ใช้กระสอบทราย มีอัตราส่วนผลตอบแทนต่อต้นทุนเท่ากับ 34.36 ฝายต้นน้ำลำธารแบบคอนกรีตเสริมเหล็ก มีอัตราส่วนผลตอบแทนต่อต้นทุนเท่ากับ 38.26 ฝายต้นน้ำลำธารแบบใช้หินในกล่องลวดตาข่าย มีอัตราส่วนผลตอบแทนต่อต้นทุนเท่ากับ 76.63 จากการวิเคราะห์ แสดงว่าฝายต้นน้ำลำธารแบบใช้หินในกล่องลวดตาข่าย มีความเหมาะสมมากที่สุด ถึงแม้ว่าจะมีอายุการใช้งานน้อยกว่าฝายต้นน้ำลำธารแบบคอนกรีตเสริมเหล็กก็ตาม
URI: http://10.209.10.67:8080/handle/123456789/186
Appears in Collections:ระดับปริญญาโท (Master Degree)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Somsak Srisawat.pdfSomsak Srisawat1.59 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.