กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1848
ชื่อเรื่อง: การพัฒนารูปแบบเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการของสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The Development of Academic Collaborative Network Model in Secondary School
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: คงแหลม, ยุทธนา
คำสำคัญ: รูปแบบ
เครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ
สถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา
การพัฒนา
Model
Secondary School
Academic collaborative network
Development
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยพะเยา
แหล่งอ้างอิง: http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=944&doc_type=0&TitleIndex=1
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบของเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการของสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา 2) เพื่อสร้างรูปแบบเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการของสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา และ 3) เพื่อประเมินรูปแบบเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการของสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา วิธีดำเนินการวิจัยมี 3 ขั้นตอน คือ การศึกษาองค์ประกอบของเครือข่ายโดยการวิเคราะห์และสังเคราะห์เอกสาร และสอบถามผู้ทรงคุณวุฒิโดยใช้เทคนิคเดลฟาย การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่ามัธยฐานและค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ การสร้างรูปแบบและตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบ โดยการสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ และการประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบ โดยการสอบถามความคิดเห็นจากรองผู้อำนวยการหรือครูที่รับผิดชอบงานวิชาการของสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา จำนวน 330 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) เครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการของสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ คุณลักษณะของผู้นำเครือข่าย บทบาทและภาระหน้าที่ของเครือข่าย การปฏิบัติงานของเครือข่าย การเสริมสร้างพลังอำนาจของเครือข่าย และการพัฒนาสมาชิกของเครือข่าย 2) รูปแบบเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการของสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา ประกอบด้วย สมาชิกเครือข่าย 6 หน่วยงาน ได้แก่ กลุ่มโรงเรียนมัธยมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถาบันอุดมศึกษาและอาชีวศึกษา องค์กรชุมชน และองค์กรเอกชน และมีคณะกรรมการเครือข่าย จำนวน 15 คน ประกอบด้วย ประธานกรรมการจากผู้ทรงคุณวุฒิ ตัวแทนสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จำนวน 2 คน ตัวแทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 1 คน ตัวแทนองค์กรชุมชน จำนวน 1 คน ตัวแทนองค์กรเอกชน จำนวน 1 คน ตัวแทนมหาวิทยาลัยและสถาบันอาชีวศึกษา จำนวน 2 คน ตัวแทนผู้บริหารภายในกลุ่มโรงเรียน จำนวน 2 คน ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษา ศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม จำนวน 5 คน และประธานกลุ่มโรงเรียน ทำหน้าที่เป็นกรรมการและเลขานุการ โดยมีองค์ประกอบของเครือข่าย จำนวน 5 องค์ประกอบ ได้แก่ คุณลักษณะของผู้นำเครือข่าย บทบาทและภาระหน้าที่ของเครือข่าย การปฏิบัติงานของเครือข่าย การเสริมสร้างพลังอำนาจของเครือข่าย การพัฒนาสมาชิกเครือข่าย และเงื่อนไขความสำเร็จ 3) ผลการประเมินรูปแบบเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการของสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา มีความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมาก
URI: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1848
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:ปริญญาเอก(Doctoral Degree)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Yutthana Konglam.pdfYutthana Konglam4.7 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น