Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1831
Title: รูปแบบการบริหารจัดการโครงข่ายการท่องเที่ยวเส้นทางสายมรดกโลก (สุโขทัย ศรีสัชนาลัย กำแพงเพชร)
Other Titles: Patterns of Tourism Networks Management in World Heritage Routes (Sukhothai Si Satchanalai Kamphaeng Phet), Thailand
Authors: จันทรักษา, วนัชพร
Keywords: โครงข่ายการท่องเที่ยว
เส้นทางสายมรดกโลก
การบริหารจัดการโครงข่าย
จังหวัดสุโขทัย
อำเภอศรีสัชนาลัย
จังหวัดกำแพงเพชร
Tourism networks
World heritage routes
Networks management
Sukhothai Province
Si Satchanalai District
Kamphaeng Phet Province
Issue Date: 2558
Publisher: มหาวิทยาลัยพะเยา
Citation: http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=878&doc_type=0&TitleIndex=1
Abstract: การศึกษาวิจัยเรื่องรูปแบบการบริหารจัดการโครงข่ายการท่องเที่ยวเส้นทางสายมรดกโลก (สุโขทัย ศรีสัชนาลัย กำแพงเพชร) มีจุดมุ่งหมายการวิจัย ดังนี้ เพื่อศึกษาและประเมินศักยภาพการท่องเที่ยวเส้นทางสายมรดกโลกจังหวัดสุโขทัย และจังหวัดกำแพงเพชร เพื่อออกแบบและประเมินโครงข่ายการท่องเที่ยวเส้นทางสายมรดกโลก และเพื่อเสนอรูปแบบการบริหารจัดการโครงข่ายการท่องเที่ยวเส้นทางสายมรดกโลก ประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้มี จำนวน 4 กลุ่ม คือ 1) นักท่องเที่ยวชาวไทย 2) บุคลากรจากหน่วยงานภาครัฐที่รับผิดชอบงานด้านการท่องเที่ยว 3) บุคลากรจากภาคเอกชนที่ประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว และ 4) บุคลากรชุมชนพื้นที่เพื่อการท่องเที่ยว โดยใช้พื้นที่จังหวัดสุโขทัย และจังหวัดกำแพงเพชรเป็นพื้นที่วิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสำรวจ แบบประเมิน และแบบสอบถาม รวมถึงจัดให้มีการสนทนากลุ่มย่อย ในส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการหาค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1) อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย และอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีศักยภาพต่อการเป็นแม่ข่ายเพื่อเชื่อมโยงไปยังแหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ เนื่องจากแหล่งท่องเที่ยวแม่ข่ายทั้ง 3 นี้ จัดอยู่ในกลุ่มแหล่งท่องเที่ยวที่มีปัจจัยความพร้อมด้านสิ่งอำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวในระดับมากที่สุด 2) นอกจากแหล่งท่องเที่ยวแล้ว นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ยังให้ความสำคัญกับปัจจัยสนับสนุนการท่องเที่ยวอีก 6 ประการ ได้แก่ ที่พัก ร้านอาหาร ร้านจำหน่ายสินค้าที่ระลึก สถานีบริการเชื้อเพลิง สถานพยาบาล และสถานีตำรวจ ตามลำดับ และเลือกใช้โทโปโลยีแบบเมซ (Mesh Topology) ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้เพื่อการคำนวณหาจำนวนทางเลือกเส้นทางท่องเที่ยวในโครงข่ายการท่องเที่ยว 3) รูปแบบการบริหารจัดการโครงข่ายการท่องเที่ยวเส้นทางสายมรดกโลกเป็นการบริหารจัดการ แบบ POLCJvC โดยประยุกต์มาจากหลักการบริหารจัดการแบบ POLC ซึ่งเป็นการบริหารจัดการแบบทั่วไป คือ P = การวางแผน (Planning) O = การจัดองค์การ (Organizing) L = ภาวะผู้นำ (Leading) C = การควบคุม (Controlling) ส่วน POLCJvC เป็นการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวในโครงข่ายเพื่อให้ชุมชนได้รับประโยชน์ ร่วมกันจึงต้องเพิ่ม Jv = กิจการร่วมค้า (Joint venture) เป็นการบริหารจัดการแบบประโยชน์ร่วมกันระหว่างท้องถิ่นต่อท้องถิ่นที่เป็นเจ้าของพื้นที่แหล่งทรัพยากรการท่องเที่ยว และ C = ชุมชน (Community) เป็นการบริหารจัดการที่คำนึงถึงผลประโยชน์และผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับประชาชนในชุมชน
URI: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1831
Appears in Collections:ปริญญาเอก(Doctoral Degree)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wanachaporn Chantharaksa.pdfWanachaporn Chantharaksa68.95 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.