Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1822
Title: กลยุทธ์การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจสปาในโรงแรมและรีสอร์ท จังหวัดภูเก็ต เพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
Other Titles: Strategies Increase the Competitiveness of Businesses in Hotel Spas and Resort Phuket the Asean Economic Community
Authors: อักษรไพโรจน์, พุทธพร
Keywords: กลยุทธ์
ขีดความสามารถในการแข่งขัน
ธุรกิจสปาในโรงแรมและรีสอร์ทจังหวัดภูเก็ต
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
สปา
จังหวัดภูเก็ต
Strategies
Increase the competitiveness of businesses
Hotel spas and resort Phuket
ASEAN economic community
Spas
Phuket
Issue Date: 2559
Publisher: มหาวิทยาลัยพะเยา
Citation: http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=1056&doc_type=0&TitleIndex=1
Abstract: การวิจัยเรื่อง กลยุทธ์การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจสปาในโรงแรมและรีสอร์ท จังหวัดภูเก็ต เพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน มีวัตถุประสงค์ในการวิจัย คือ 1) เพื่อศึกษาขีดความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจสปาในโรงแรมและรีสอร์ท จังหวัดภูเก็ต 2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวต่อคุณภาพการให้บริการสปาในโรงแรมและรีสอร์ท จังหวัดภูเก็ต 3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการสปาในโรงแรมและรีสอร์ท จังหวัดภูเก็ต และ 4) เพื่อเสนอกลยุทธ์การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจสปาในโรงแรมและรีสอร์ท จังหวัดภูเก็ต เพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ดำเนินการวิจัยแบบผสมทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ศึกษา ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบประเมิน แบบสอบถาม การประชุมกลุ่มย่อย การวิเคราะห์ SWOT การวิเคราะห์ TOWS และการประชาคม ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ ตัวแทนผู้บริหารหรือผู้ดำเนินการสปา นักท่องเที่ยว หน่วยงาน สมาคม และธุรกิจที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาและโปรแกรมสำเร็จรูป โดยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test ค่า f-test และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุ (Multiple regression analysis) ผลการวิจัย พบว่า 1) จากแรงผลักดันในการทำธุรกิจ (Five forces model) ส่งผลให้ภาพรวมขีดความสามารถในการแข่งขันทุกด้านอยู่ในระดับปานกลาง 2) นักท่องเที่ยวมีความคิดเห็นว่าคุณภาพการให้บริการทุกด้านอยู่ในระดับสูง เพศ อายุ สถานภาพ อาชีพ ประเทศต้นทางที่แตกต่างกันของนักท่องเที่ยวที่เคยใช้บริการส่งผลต่อความคิดเห็นของคุณภาพบริการที่แตกต่างกัน และนักท่องเที่ยวที่ไม่ใช้บริการเพราะคิดเห็นว่ามีราคาแพงกว่าเดย์สปาหรือร้านนวดไทย อีกทั้งไม่ได้รับรู้ข้อมูลของคุณค่าบริการที่สูงกว่า และรายการท่องเที่ยวที่ซื้อมาก็ถูกรวมบริการเดย์สปาแล้ว 3) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับขีดความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจ พบว่า ภาพรวมขีดความสามารถในการให้บริการทุกด้านอยู่ในระดับปานกลาง อิทธิพลทำนายสูงสุดที่ส่งผลให้เกิดแรงผลักดันต่อขีดความสามารถในภาพรวม คือ แรงผลักดันจากการเข้ามาของคู่แข่งรายใหม่ของด้านผลิตภัณฑ์ เครื่องมือและอุปกรณ์ 4) กลยุทธ์ที่ใช้เพื่อการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน เพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในทุกด้าน คือ กลยุทธ์การเน้นเฉพาะส่วน (Focus) ที่มุ่งเน้นกลุ่มนักท่องเที่ยวระดับกลาง มีกำลังซื้อต่อชั่วโมงบริการระหว่าง 1,200-3,000 บาท เป็นเดินทางมาเพื่อพักผ่อนและดูแลสุขภาพ (Leisure and wellness tourist) และกลยุทธ์การสร้างความแตกต่าง (Differentiation) ที่มุ่งเน้นการสร้างความแตกต่างที่บริการ ภาพลักษณ์ ผู้ให้บริการ ผลิตภัณฑ์ และช่องทางบริการ
URI: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1822
Appears in Collections:ปริญญาเอก(Doctoral Degree)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Puttaporn Aksornpairoj.pdfPuttaporn Aksornpairoj5.69 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.