Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1810
Title: แนวทางการจัดการและส่งเสริมการท่องเที่ยวตามแผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติภายใต้วิกฤตโควิด 19
Other Titles: Approaches to the Management and the Promotion of Tourism under the Covid 19 National Tourism Development
Authors: ศุภนิมิตวิเศษกุล, ชัยพร
Keywords: แนวทางการจัดการ
การส่งเสริมการท่องเที่ยว
แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ
วิกฤตโควิด 19
Approaches to Management
Tourism Promotion
National Tourism Development
COVID-19
Issue Date: 2565
Publisher: มหาวิทยาลัยพะเยา
Citation: http://202.28.199.150/dcupload_/mainmetadata.php?option=edit&SelectDocType=0&bib=1853
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการเดินทางและปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ที่มีผลต่อการเดินทางท่องเที่ยวภายใต้วิกฤตโควิด 19 2) ศึกษาการรับรู้ของนักท่องเที่ยวเกี่ยวกับความเหมาะสมของมาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยวโครงการภาครัฐ 3) ศึกษาศักยภาพอุตสาหกรรมท่องเที่ยวภายใต้วิกฤตโควิด 19 4) ศึกษาความเสี่ยงของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวภายใต้วิกฤตโควิด 19 และ 5) นำเสนอแนวทางการจัดการ และการส่งเสริมการท่องเที่ยวตามแผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติภายใต้วิกฤตโควิด 19 งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) ประกอบด้วย 1) การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เป็นการศึกษาโดยใช้แบบสอบถาม นักท่องเที่ยวชาวไทย จำนวน 400 คน 2) การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก แบบกึ่งโครงสร้าง (Semi-Structure Interview) จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ โดยจำแนกออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ ภาครัฐ ภาคเอกชน และนักวิชาการ รวมทั้งสิ้น 33 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) พฤติกรรมของนักท่องเที่ยวที่เดินทางภายใต้วิกฤตโควิด 19 ส่วนใหญ่เดินทางกับครอบครัวและญาติ ด้วยรถยนต์ส่วนตัว วันหยุดวันเสาร์-อาทิตย์ เพื่อพักผ่อนหย่อนใจ 1 ครั้งต่อปี และมีค่าใช้จ่ายมากกว่า 45,000 บาท มีความคิดเห็นต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดภายใต้วิกฤตโควิด 19 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) นักท่องเที่ยวมีระดับการรับรู้มาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยวโครงการของภาครัฐภายใต้วิกฤตโควิด 19 โดยรวมอยู่ในระดับมาก 3) ศักยภาพอุตสาหกรรมท่องเที่ยวทุกภาคส่วนมีการขับเคลื่อน โดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมดให้มีกระบวนการทางมาตรการชัดเจน เพื่อเร่งส่งเสริมท่องเที่ยวร่วมกันทำงานให้เกิดความปลอดภัยด้านสุขอนามัยในการท่องเที่ยว จัดทำแผนล่วงหน้าภายใต้วิกฤตโควิด และอาจมีการปรับแผนอย่างบูรณาการเพื่อรองรับการแพร่ระบาด 4) ความเสี่ยงของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ทุกองค์กรต้องวางแผนความเสี่ยงเพื่อประคองกิจการ จากผลกระทบที่เกิดขึ้นภายใต้ความเหมาะสมเพื่อให้ธุรกิจอยู่รอด โดยรัฐต้องเข้ามาช่วยเหลือเยียวยา และยกระดับมาตรฐานความสะอาด หรือความปลอดภัยด้านสุขอนามัย และ 5) แนวทางการจัดการ และการส่งเสริมการท่องเที่ยว ตามแผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติภายใต้วิกฤตโควิด 19 ด้วยรูปแบบ CHALLENGE MODEL ประกอบด้วย ความร่วมมือ (Collaboration) ใช้เทคโนโลยีสร้างนวัตกรรม (High Technology) ตระหนักรู้ (Awareness) เข้าถึงชุมชน (Localization) ผู้นำทางการท่องเที่ยว (Leadership) เผชิญหน้าการแข่งขัน (Encounter) ท่องเที่ยววิถีใหม่ (Neo Tourism) โลกาภิวัตน์ (Globalization) และเน้นสมดุล (Emphasis)
URI: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1810
Appears in Collections:ปริญญาเอก(Doctoral Degree)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chaiyaporn Supanimitwisetkul.pdfChaiyaporn8.74 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.