กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1722
ชื่อเรื่อง: แนวทางการพัฒนาสถานพยาบาลในจังหวัดพะเยาเพื่อรองรับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ: กรณีศึกษานักท่องเที่ยวชาวไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Guidelines for Hospital Development to Support Health Tourism in Phayao: A Case Study of Thai Visitor
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พันธุ์ปัญญา, กฤต
คำสำคัญ: สถานพยาบาล
จังหวัดพะเยา
การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
Nursing home
Phayao Province
Health tourism
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยพะเยา
แหล่งอ้างอิง: http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=483&doc_type=0&TitleIndex=1
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความพร้อมของสถานพยาบาลด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวชาวไทยในจังหวัดพะเยา เพื่อศึกษาความต้องการของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่ประสงค์มารับบริการการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ และเพื่อหาแนวทางการพัฒนาสถานพยาบาล ด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในการรองรับนักท่องเที่ยวชาวไทย สถานพยาบาลที่มีศักยภาพทั้งภาครัฐและเอกชนในการรองรับนักท่องเที่ยวชาวไทย ด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในจังหวัดพะเยา ได้แก่ โรงพยาบาลพะเยา โรงพยาบาลพะเยาราม และโรงพยาบาลเชียงคำ ประชากรของการวิจัยครั้งนี้ คือ นักท่องเที่ยวชาวไทยที่เข้ามาในจังหวัด ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่างเท่ากับ 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้สร้างแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างและแบบสอบถาม ศึกษาความพร้อมความต้องการของนักท่องเที่ยวชาวไทยในการรองรับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในจังหวัดพะเยา และหาความสัมพันธ์ระหว่างเพศ อายุ อาชีพ รายได้ ระหว่างความพร้อมของสถานพยาบาล และความต้องการของนักท่องเที่ยวชาวไทย วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป โดยการวิเคราะห์ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน จากการวิจัยครั้งนี้ได้ศึกษาแนวทางการพัฒนาสถานพยาบาลในจังหวัดพะเยา เพื่อรองรับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ: กรณีศึกษานักท่องเที่ยวชาวไทย จำนวนทั้งหมด 400 คน พบว่า นักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางเข้ามาในจังหวัดพะเยา ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 41-50 ปี สถานภาพสมรส ส่วนใหญ่ใช้สิทธิเบิกต้นสังกัด/เบิกได้ ไม่เสียค่าใช้จ่ายในการรักษาต่อครั้ง ส่วนใหญ่ใช้ระยะเวลาในการรักษาต่อครั้ง ต่ำกว่า 1 ชั่วโมง เดินทางมาใช้บริการในสถานพยาบาลด้วยตนเอง ประเภทกิจกรรมการมาใช้บริการในสถานพยาบาลส่วนใหญ่ ตรวจร่างกายและการนวดแผนโบราณ ทราบข้อมูลเกี่ยวกับสถานพยาบาล จากญาติพี่น้อง/ครอบครัว/คนรู้จัก ผลการวิจัยพบว่า ความต้องการของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่ประสงค์มารับบริการเชิงสุขภาพ ในสถานพยาบาลจังหวัดพะเยา ในภาพรวมของความต้องการของนักท่องเที่ยวชาวไทยทั้ง 6 ด้าน ส่งผลต่อระดับความต้องการของนักท่องเที่ยวชาวไทย ที่ประสงค์มารับบริการเชิงสุขภาพในสถานพยาบาลจังหวัดพะเยา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (X = 3.86) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการบริการเป็นด้านที่ส่งผลต่อระดับนักท่องเที่ยวชาวไทย ที่ประสงค์มารับบริการเชิงสุขภาพในสถานพยาบาลจังหวัดพะเยา อยู่ในระดับมาก (X = 4.07) ส่วนด้านสิ่งแวดล้อม อยู่ในระดับมาก (X = 4.00) ด้านการติดตามประเมินผล อยู่ในระดับมาก (X = 3.97) ด้านการจัดการ/บริหารองค์กร ความรับผิดชอบต่อสังคม อยู่ในระดับมาก (X = 3.93) ด้านสถานที่และด้านการส่งเสริมการตลาด อยู่ในระดับมาก (X = 3.69) ส่งผลต่อระดับความต้องการของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่ประสงค์มารับบริการเชิงสุขภาพในสถานพยาบาลจังหวัดพะเยา ตามลำดับ
URI: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1722
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:ระดับปริญญาโท (Master Degree)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Krit Phanpanya.pdfKrit Phanpanya5.17 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น