กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1711
ชื่อเรื่อง: การประเมินศักยภาพพลังงานจากชีวมวลเหลือทิ้งและหาแหล่งที่ตั้งที่เหมาะสมของโรงไฟฟ้าชีวมวลในจังหวัดลำปาง โดยใช้ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Assessment of Energy Potential from Biomass Residue and suitable Location of Biomass Powerplant in Lampang, Using Geographic Information Systems
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กอขันธ์, ศักรินทร์
คำสำคัญ: ชีวมวล
พลังงานหมุนเวียน
ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
จังหวัดลำปาง
Blomass
Renewable energy
Geographic information system
Lampang province
วันที่เผยแพร่: 2555
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยพะเยา
แหล่งอ้างอิง: http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=428&doc_type=0&TitleIndex=1
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ข้อแรก คือ เพื่อศึกษาศักยภาพพลังงานจากชีวมวลเหลือทิ้งในจังหวัดลำปาง เป็นชีวมวลที่มาจากพืชหลัก คือ ข้าว ข้าวโพด อ้อย สับปะรด ถั่ว มันสำประหลัง และชีวมวลเหลือทิ้งจากโรงงานต่าง ๆ ในพื้นที่ วัตถุประสงค์ข้อที่สอง คือ วิเคราะห์หาที่ตั้งที่เหมาะสมของโรงไฟฟ้าชีวมวล โดยใช้เครื่องมือที่นำมาใช้ในงานวิจัย คือ ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) เป็นการจัดการข้อมูล รวบรวม และแสดงผลของการใช้ประโยชน์จากชีวมวลที่เหลือทิ้ง ผลการวิจัยพบว่า มีปริมาณชีวมวลเหลือทิ้งในจังหวัดลำปางทั้งหมด 784,270 ตัน/ปี เป็นชีวมวลที่สามารถนำมาใช้ได้ 368,230 ตัน/ปี มีศักยภาพพลังงาน 5,059,780 กิกกะจูล/ปี มีปริมาณชีวมวลจากโรงงาน 127,547 ตัน/ปี มีศักยภาพพลังงาน 1,903,710 กิกกะจูล/ปี รวมได้ศักยภาพพลังงานจากชีวมวล 6,963,490 กิกกะจูล/ปี โรงไฟฟ้ามีที่ตั้งที่เหมาะสมอยู่บริเวณตำบลบ้านเป้า อำเภอเมืองลำปาง ที่พิกัด N2033312 E0548593 มีเนื้อที่ 12,033 ไร่ ซึ่งยังสามารถตั้งโรงงานไฟฟ้าได้ขนาด 55 เมกะวัตต์
URI: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1711
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:ระดับปริญญาโท (Master Degree)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Sakkarin Kokhan.pdfSakkarin Kokhan16.98 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น