กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1656
ชื่อเรื่อง: การบริหารจัดการระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยพะเยา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Information Technology and Communications Management Systems for Teaching in University of Phayao
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: คุ้มคำ, ณัฐณิชา
คำสำคัญ: ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
การบริหารจัดการ
การเรียนการสอน
มหาวิทยาลัยพะเยา
Information and Communication Technology System
Management
Instruction
University of Phayao
วันที่เผยแพร่: 2555
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยพะเยา
แหล่งอ้างอิง: http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=356&doc_type=0&TitleIndex=1
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 2 ประการ คือ เพื่อศึกษาสภาพการบริหารจัดการระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารเพื่อการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยพะเยา และเพื่อศึกษาปัญหาการบริหารจัดการระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารเพื่อการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยพะเยา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ พนักงานสายวิชาการ มหาวิทยาลัยพะเยา ในปีการศึกษา 2554 ทั้งหมด จำนวน 13 คณะ และ 2 วิทยาลัย จำนวน 226 คน เครื่องมือในการศึกษาได้ใช้แบบสอบถาม เพื่อศึกษาสภาพการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารเพื่อการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยพะเยาในการวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ค่าสถิติ ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (-) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการศึกษา สภาพการบริหารจัดการระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยพะเยา ทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านบุคคล ด้านงบประมาณ ด้านเครื่องมือหรืออุปกรณ์ด้านไอที และด้านการบริหารจัดการ พบว่า 1) ด้านบุคคล สภาพการบริหารจัดการระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารเพื่อการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยพะเยา พบว่า โดยภาพรวมมีระดับความเหมาะสมปานกลาง มีคะแนนค่าเฉลี่ยสูงที่สุด เห็นว่า ข้อที่ 1 บุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศมีความรู้ความสามารถในการสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนให้ประสบผลสําเร็จ และมีคะแนนค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด เห็นว่า ข้อที่ 4 การส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรด้านไอทีโดยจัดให้มีการฝึกอบรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศของมหาวิทยาลัยให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา 2) ด้านงบประมาณ สภาพการบริหารจัดการระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยพะเยา พบว่า โดยภาพรวมมีระดับความเหมาะสมปานกลาง มีคะแนนค่าเฉลี่ยสูงที่สุด เห็นว่า ข้อที่ 3 การจัดสรรงบประมาณในการสร้างหรือปรับปรุงอาคาร ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ อย่างเพียงพอ และมีคะแนนค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดเห็นว่า การจัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุนซื้อเครื่องมือคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ด้านไอทีแก่นิสิตอาจารย์ และบุคลากรอย่างเพียงพอ 3) ด้านเครื่องมือหรืออุปกรณ์ด้านไอที สภาพการบริหารจัดการระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารเพื่อการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยพะเยา พบว่า โดยภาพรวมมีระดับความเหมาะสมปานกลาง มีคะแนนค่าเฉลี่ยสูงที่สุด เห็นว่า ข้อที่ 4 มีโปรแกรมคอมพิวเตอร์เป็นรุ่นที่ทันสมัย สามารถใช้งานได้ดีเหมาะสมกับการเรียนการสอน และมีคะแนนค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด เห็นว่า ข้อที่ 1 มีเครื่องมือหรืออุปกรณ์ด้านไอทีมีความพร้อมต่อการใช้งานของนิสิต อาจารย์และบุคลากร 4) ด้านการบริหารจัดการ สภาพการบริหารจัดการระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารเพื่อการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยพะเยา พบว่า โดยภาพรวมมีระดับความเหมาะสมปานกลาง มีคะแนนค่าเฉลี่ยสูงที่สุด เห็นว่า ข้อที่ 1 การนําระบบจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ e-mail (Up-E-mail) มาใช้เพื่อติดต่อสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ และ มีคะแนนค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด เห็นว่าข้อที่ 2 มีการสํารวจความต้องการการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของอาจารย์ นิสิตและบุคลากร
URI: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1656
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:ระดับปริญญาโท (Master Degree)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Natnicha Khumkham.pdfNatnicha Khumkham1.42 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น