Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1320
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorอินทสิทธิ์, นิธิวัฒน์-
dc.date.accessioned2022-04-28T08:29:47Z-
dc.date.available2022-04-28T08:29:47Z-
dc.date.issued2563-
dc.identifier.citationhttp://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=1549&doc_type=0&TitleIndex=1en_US
dc.identifier.urihttp://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1320-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุระดับนักเรียนระดับห้องเรียนและระดับโรงเรียน ที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการบริหารวิชาการของโรงเรียนมาตรฐานสากล 2) เพื่อศึกษารูปแบบแบบพหุระดับของปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการบริหารวิชาการของโรงเรียนมาตรฐานสากล และ 3) เพื่อศึกษาการบริหารรูปแบบพหุระดับของปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการบริหารวิชาการของโรงเรียนมาตรฐานสากล กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียน ครูผู้สอน และผู้บริหารโรงเรียนของโรงเรียนมาตรฐานสากล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานคร รวมทั้งหมด 1,530 คน ซึ่งได้มาโดยใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบแบบเลือกตอบ และแบบวัดแบบมาตรประมาณค่า เครื่องมือดังกล่าวมีค่าความเที่ยง (α) ตั้งแต่ 0.760 ถึง 0.950 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยแบบพหุระดับ ผลการวิจัยประการแรก พบว่า 1) ปัจจัยเชิงสาเหตุอธิบายประสิทธิผลระดับนักเรียนได้ร้อยละ 52.91 โดยตัวแปรปัจจัยสำคัญ ได้แก่ การจัดสภาพบรรยากาศในห้องเรียน การรับรู้นโยบายการบริหารวิชาการ การเชื่ออำนาจในตนในการเรียน ทัศนคติต่อการเรียนตามมาตรฐานสากล และการสนับสนุนด้านการเรียนของผู้ปกครอง การวิจัยยังพบตัวแปรปัจจัยระดับนักเรียนที่สามารถนำไปเป็นตัวแปรตามได้ในระดับห้องเรียน คือ การเชื่ออำนาจในตนในการเรียน และทัศนคติต่อการเรียนตามมาตรฐานสากล 2) ปัจจัยเชิงสาเหตุอธิบายประสิทธิผลระดับห้องเรียนได้ร้อยละ 54.05 โดยมีตัวแปรปัจจัยสำคัญ ได้แก่ การจัดครูเข้าสอนและการนิเทศ การดำเนินการสอน และพฤติกรรมการสอนของครู การรับรู้ตัวแบบห้องเรียนคุณภาพ และความผูกพันต่อนักเรียนและโรงเรียนของครู การวิจัยยังพบตัวแปรปัจจัยระดับห้องเรียนที่สามารถนำไปเป็นตัวแปรตามได้ในระดับโรงเรียน คือ การรับรู้ตัวแบบห้องเรียนคุณภาพ 3) ปัจจัยเชิงสาเหตุอธิบายประสิทธิผลระดับโรงเรียนได้ร้อยละ 54.65 ตัวแปรปัจจัยสำคัญ ได้แก่ การกำหนดนโยบาย และแนวปฏิบัติที่ชัดเจนของโรงเรียน และกระบวนการบริหารวิชาการที่เป็นไปตามหลักมาตรฐานสากล ประการที่สอง พบว่า ปัจจัยทุกระดับร่วมกันอธิบายประสิทธิผลการบริหารวิชาการโรงเรียนมาตรฐานสากลของโรงเรียนที่สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ในกรุงเทพมหานคร มากกว่าร้อยละ 50 โดยรูปแบบพหุระดับมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ประการที่สาม พบว่า การบริหารรูปแบบพหุระดับของปัจจัยที่มีต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมาตรฐานสากลสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานคร มีค่าเฉลี่ยจาการประเมินรายด้านร้อยละ 93.35 ถึง 94.29 ค่าเฉลี่ย รวมร้อยละ 94.11 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ร้อยละ 70/75en_US
dc.description.sponsorshipมหาวิทยาลัยพะเยาen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยพะเยาen_US
dc.subjectปัจจัยเชิงสาเหตุพหุระดับen_US
dc.subjectการบริหารวิชาการen_US
dc.subjectประสิทธิผลของโรงเรียนen_US
dc.subjectโรงเรียนมาตรฐานสากลen_US
dc.subjectMulti-level causal factorsen_US
dc.subjectAcademic administrationen_US
dc.subjectSchool effectivenessen_US
dc.subjectWorld-class standard schoolen_US
dc.titleปัจจัยเชิงสาเหตุแบบพหุระดับของประสิทธิผลการบริหารวิชาการของโรงเรียนมาตรฐานสากล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานครen_US
dc.title.alternativeThe Multi-Level Causal of the Academic Affair Administration Effectiveness of World-Class Standard Schools under the Office of the Secondary Education Service Area in Bangkoken_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:ปริญญาเอก(Doctoral Degree)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nithiwat Intasit doc.pdfNithiwat Intasit8.23 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.