กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/100
ชื่อเรื่อง: การศึกษาสภาพและความต้องการปฏิบัติตนตามมาตรฐานจรรยาบรรณวิชาชีพของข้าราชการครูในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสหวิทยาเขตภูกามยาว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The Study of the State and Need of Practice Based on Standard Code of Ethics for Teachers in the Secondary Schools under Phukamyao Educational Area United, Secondary Educational Service Area Office 36
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วรภูรีกุล, สุรชัย
คำสำคัญ: จรรยาบรรณของวิชาชีพครู
Code of ethics for teachers
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยพะเยา
แหล่งอ้างอิง: http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=1476&doc_type=0&TitleIndex=1
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพการปฏิบัติตนตามมาตรฐานจรรยาบรรณวิชาชีพครู ความต้องการและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางการส่งเสริมมาตรฐานจรรยาบรรณวิชาชีพของข้าราชการครูในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสหวิทยาเขตภูกามยาว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36 ตามทัศนคติของผู้บริหารและข้าราชการครู กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและข้าราชการครูในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสหวิทยาเขตภูกามยาว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36 จำนวน 228 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการบรรยาย จากผลการศึกษาพบว่า การปฏิบัติตนตามมาตรฐานจรรยาบรรณวิชาชีพของข้าราชการครูในภาพรวมทั้ง 5 หมวด 9 ด้าน มีระดับจรรยาบรรณอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีระดับจรรยาบรรณอยู่ในระดับมากที่สุด 3 หมวด 7 ด้าน ได้แก่ หมวดจรรยาบรรณต่อศิษย์และผู้รับบริการ ด้านการให้บริการด้วยความจริงใจและเสมอภาค โดยไม่เรียกรับหรือยอมรับผลประโยชน์จากการใช้ตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบ ด้านความรัก เมตตา เอาใจใส่ช่วยเหลือ ส่งเสริมให้กำลังใจแก่ศิษย์และผู้รับบริการโดยเสมอหน้า ด้านการประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีทั้งทางกาย วาจาและจิตใจ ด้านการส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ ทักษะและนิสัยที่ถูกต้องดีงามแก่ศิษย์และผู้รับบริการอย่างเต็มความสามารถด้วยความบริสุทธิ์ใจ และด้านการไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ หรือขัดขวางความเจริญทางกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์และสังคมของศิษย์และผู้รับบริการ หมวดจรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพด้านพึงช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันอย่างสร้างสรรค์โดยยึดมั่นในระบบคุณธรรม สร้างความสามัคคีในหมู่คณะ หมวดจรรยาบรรณต่อวิชาชีพด้านความรัก ศรัทธา ซื่อสัตย์ สุจริต รับผิดชอบต่อวิชาชีพและเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพ และมีระดับจรรยาบรรณอยู่ระดับมาก จำนวน 2 ด้าน ได้แก่ หมวดจรรยาบรรณต่อตนเอง ด้านการมีวินัยในตนเองพัฒนาตนเอง ด้านวิชาชีพบุคลิกภาพและวิสัยทัศน์ และหมวดจรรยาบรรณต่อสังคม ด้านการปฏิบัติตนเป็นผู้นำในการอนุรักษ์และพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญา สิ่งแวดล้อม รักษาผลประโยชน์ของส่วนรวม และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จากผลสรุปเกี่ยวกับความต้องการและข้อเสนอแนะของผู้บริหารสถานศึกษา และข้าราชการครูในการปฏิบัติตามมาตรฐานจรรยาบรรณวิชาชีพครู พบว่า ควรนำความต้องการและข้อเสนอแนะไปใช้เป็นข้อมูลในการส่งเสริมพัฒนาตนเองของครูในด้านจรรยาบรรณต่อตนเอง จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ จรรยาบรรณต่อศิษย์และผู้รับบริการ จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ และจรรยาบรรณต่อสังคมเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อองค์กร ต่อศิษย์และผู้รับบริการต่อไป
URI: http://10.209.10.67:8080/handle/123456789/100
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:ระดับปริญญาโท (Master Degree)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
59207058.pdfSurachai Worapureegul1.64 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น